กินรี กับวัฒธรรมไทย

กินรี (ตัวเมีย) และ กินร (ตัวผู้) เป็นสัตว์ในป่าหิมพานต์ ร่างกายท่อนบนเป็นมนุษย์ ท่อนล่างเป็นนก มีปีกบินได้ ตามตำนานเล่าว่าอาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์ เชิงเขาไกรลาศ นับเป็นสัตว์ที่มีปรากฏในงานศิลปะของไทยมาก ส่วนในวรรณคดีไทยก็มีการอ้างถึงกินรีด้วยเช่นกัน

 

ในงานจิตรกรรมไทยนิยมวาดภาพกินร และกินรีไว้ในที่ต่างๆ ในฉากของป่าหิมพานต์ นอกจากนี้ยังมีการปั้นรูปกินรและกินรีประดับไว้ในสถานที่สำคัญด้วย

 

<------------->

 

 

<------------->

 

นางกินรี มีในวรรณกรรมของไทยหลายเรื่อง เรื่องที่แพร่หลายที่สุด คือวรรณกรรมเรื่อง พระสุธน-มโนราห์ ซึ่งตัวนางเอกเป็นนางกินรี มาจากป่าหิมพานต์และถูกจับได้เมื่อลงมาเล่นน้ำในสระ จนต้องกลายเป็นพระมเหสีของพระสุธนผู้เป็นมนุษย์ และถูกกลั่นแกล้งให้ถูกเผาทั้งเป็น แต่นางใช้อุบายหลอกขอปีกหางที่ถูกยึดไว้และบินหนีรอดมาได้ ภายหลังพระสุธนออกติดตามไปยังป่าหิมพานต์และได้พบกันในที่สุด นาฏกรรมในเรื่องนี้มีหลายชุดที่มีชื่อเสียงเป็นที่แพร่หลายอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ ชุด มโนราห์บูชายัญ , ระบำกินรีร่อน และระบำไกรลาศสำเริง

ระบำกินรีร่อนออกบูชายัญ เป็นระบำชุดหนึ่งที่ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี ศิลปินแห่งชาติ ได้ประดิษฐ์ท่ารำให้มีลีลาอ่อนช้อย งดงาม กับทั้งสอดแทรกความร่าเริงของเหล่ากินรี ที่โผผินบินมาเริงระบำกันอย่างสนุกสนาน โดยให้เข้ากับท่วงทำนองและจังหวะเพลง บางครั้งรำก่อนมโนราห์บูชายัญ หรือบางครั้งก็รำต่อท้ายมโนราห์บูชายัญ

(1648)