คอนสแตนติน-ฟอลคอน สมุหนายกคนโปรดในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

เจ้าพระยาวิชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) ถือเป็นสมุหนายกในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยาทรงโปรดมากที่สุดคนหนึ่ง

คอนสแตนติน ฟอลคอน  เดินทางมายังอยุธยาในฐานะพ่อค้า ในช่วงปี พ.ศ. 2218  เนื่องจากฟอลคอนมีความสามารถพิเศษในการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศอย่างง่ายดาย ฟอลคอนจึงเรียนรู้การใช้ภาษาไทยอย่างคล่องแคล่วในเวลาไม่กี่ปีและเข้ารับราชการในราชสำนักสมเด็จพระนารายณ์มหาราชในตำแหน่งล่าม นับเป็นชาวตะวันตกคนแรกที่เข้ามารับราชการในสมัยอยุธยา เป็นตัวกลางการค้าระหว่างอยุธยากับฝรั่งเศส ฟอลคอนได้กลายมาเป็นสมุหเสนาในสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยาในเวลาอันรวดเร็ว ความใกล้ชิดระหว่างเจ้าพระยาวิชเยนทร์และสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทำให้เกิดความริษยาขึ้นในหมู่ราชนิกุล

ในปี พ.ศ.2230  พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงจัดส่งทูตอีกคณะหนึ่งเดินทางมาอยุธยาอย่างต่อเนื่องไปเลย โดยมี เดอ ลาลูแบร์ เป็นหัวหน้าคณะ  ถึงอยุธยาในเดือนกันยายน และพำนักอยู่เมืองไทยประมาณ 3 เดือน  การเดินทางครั้งนี้มีภารกิจหลักในการโน้มน้าวให้สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงเข้านับถือศาสนาคริสต์ และให้ฝ่ายไทยอนุเคราะห์ฝรั่งเศสในเรื่องการค้า เดอ ลาลูแบร์ ได้รับนโยบายจากรัฐบาลฝรั่งเศสให้จัดการปูทางให้ฝรั่งเศสเข้ามามีบทบาทในการบริหารเมืองไทย ซึ่งรวมถึงการส่งกองทหารฝรั่งเศสเข้ามาสนับสนุนความมั่นคงด้วย คอนสแตนติน ฟอลคอน ซึ่งหวังพึ่งฝรั่งเศสทั้งในทางส่วนตัวและในหน้าที่การงาน เป็นผู้นำเสนอนโยบายต่อฝรั่งเศสข้างต้น อย่างไรก็ดี เดอ ลาลูแบร์ ก็ขัดแย้งกับฟอลคอนในการปฏิบัติหลายเรื่องและในช่วงเวลานั้น ฟอลคอนก็ไม่ค่อยจะมั่นใจในความมั่นคงในฐานะราชการ อย่างไรก็ตาม

 

<------------->

 

 

<------------->

 

ภายหลังที่คณะทูตฝรั่งเศสออกเดินทางไปจากเมืองไทยได้ไม่นาน เมืองไทยก็มีการยึดอำนาจการปกครองประเทศโดยพระเพทราชาในขณะที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงพระประชวรหนัก  ฟอลคอน ถูกจับและถูกประหารชีวิตเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ.2231 และต่อมาไม่นานสมเด็จพระนารายณ์มหาราชก็เสด็จสวรรคต

สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เสด็จออกรับพระราชสาส์นจากพระเจ้าหลุยส์ที่ 14
ทูลเกล้าฯ ถวายโดย เชอวาลิเอร์ เดอ โชมองต์ เอกอัครราชทูต เมื่อปี พ.ศ. 2228
จะเห็น คอนสแตนติน ฟอลคอนหมอบคลานเข่าชูมือซ้ายอยู่บนหน้าสีหบัญชร
ภาพพิมพ์ฝีมือจิตรกรชาวฝรั่งเศส นิโกเลาส์ เดอ ลาร์เมสแซ็ง (Nicolas de L’ Armessin)
พิมพ์ที่กรุงปารีส เมื่อราวปี พ.ศ. 2230

 

(18079)