หุ่นไทย

หุ่นไทย คือ รูปแบบจำลอง ทำคล้ายของจริง ประดิษฐ์ด้วยวิธีปั้น หรือแกะสลัก ใช้ในการเล่นมหรสพ เคลื่อนไหวด้วยการปักหรือเชิด บังคับให้เคลื่อนไหวเพื่อแสดงเป็นเรื่องราว การนำหุ่นมาแสดงระยะแรกยังไม่สามารถเคลื่อนไหวได้มาก เป็นลักษณะหุ่นนิ่ง ต่อมาดัดแปลงแก้ไขจนสามารถเคลื่อนไหวเลียนแบบการเคลื่อนไหวของคนหรือสัตว์

ประวัติการสร้างหุ่นมีหลักฐานว่ามีตั้งแต่สมัยสุโขทัย แต่ไม่เรียกว่า “หุ่น” เรียกว่า “กทำยนตร” คำว่า “หุ่น” มาปรากฏในสมัยอยุธยาตอนต้นช่างที่ทำหุ่น เรียกว่า “ช่างหุ่น” เป็นช่างหนึ่งในช่างสิบหมู่ และมีหลักฐานการเชิดหุ่นในสมัยอยุธยาตอนกลางแต่ยังไม่มีเสียง การเคลื่อนไหวไม่แนบเนียน มาเริ่มแพร่หลายชักหุ่นเชิดในสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ ราวรัชกาลที่ 1 จนถึงรัชกาลที่ 7 การสร้างตัวหุ่น นิยมสร้างโดยจำลองจากตัวละครในวรรณคดี หรือจำลองจากตัวโขนในเรื่องรามเกียรติ์ เลียนแบบตั้งแต่เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ ตลอดจนลีลาท่ารำ

 

<------------->

 

 

<------------->

 

สมัยอยุธยา หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดที่กล่าวถึงการเล่นหุ่นในประเทศไทย คือ จดหมายเหตุของบาทหลวงตาชาร์ด ราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเดินทางมากรุงศรีอยุธนา เมื่อ พ.ศ. 2228 และจดหมายเหตุของลาลูแบร์ อัครราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งประเทศฝรั่งเศส เดินทางมากรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. 2230 ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยาจดหมายเหตุทั้งสองฉบับได้บันทึกถึงการเล่นหุ่น

เอกสารดังกล่าวทำให้สันนิษฐานได้ว่าการเล่นหุ่นอาจเกิดก่อนสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชและได้มีการแสดงเรื่อยมา แต่จะเป็นรัชสมัยของพระมหากษัตริย์พระองค์ใดไม่มีหลักฐานยืนยัน จึงอาจสรุปได้ว่ามีการแสดงหุ่นตั้งแต่บัดนั้นเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน นับเป็นเวลาประมาณ 300 ปี

(1014)