ว่าว

ว่าว เป็นของเล่นชนิดหนึ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อให้ลอยอยู่ในอากาศได้ด้วยแรงลมและมีสายป่านคอยบังคับให้ลอยอยู่ในทิศทางที่ต้องการ โดยเริ่มจากประเทศจีนโดยใช้ไม้ไผ่และผ้าไหมเป็นอุปกรณ์ ต่อมาได้ประดิษฐ์ว่าวในหลายรูปแบบตามวัฒนธรรมของหลายประเทศ

 

ในอดีตมีกล่าวอยู่ในพงศาวดารเหนือว่า พระร่วงทรงเล่นว่าวอย่างไม่ถือพระองค์ว่าเป็นท้าวพระยา ในสมัยกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 1893 – 2300) ก็มีการเล่นว่าวกันมากถึงกับมีกฎมณเพียรบาลห้ามมิให้ประชาชนเล่นว่าวทับพระราชวัง ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ก็มีการเล่นว่าวดังเช่นในสมัย ก็มีการเล่นว่าว เช่นในรัชกาลที่ 5 ก็โปรดให้ใช้สถานที่ในพระราชวังดุสิต และสนามเสือป่าเป็นที่เล่นว่าวจุฬากับปักเป้า เป็นต้น ว่าวของไทยที่ทำขึ้นเล่นกันเป็นพื้นมีอยู่ 4 ชนิดด้วยกัน คือ ว่าวอีลุม ว่าวปักเป้า ว่าวจุฬา และว่าวตุ๋ยตุ่ย

ว่าวอีลุ้มมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน มีไม้ไผ่เป็นโครงสองอันคือ อกและปีกอกจะสั้นกว่าปีกเล็กน้อย กระดาษที่ใช้ปิดทาบลงบนโครงนี้ คือกระดาษว่าว ซึ่งบางเป็นพิเศษ ส่วนปลายของปีกทั้งสองข้างจะติดพู่กระดาษเพื่อช่วยในการทรงตัว ในขณะที่ว่าวลอยอยู่ในอากาศ มีหางสำหรับถ่วงน้ำหนักป้องกันไม่ให้ว่าวส่ายไปมา

 

<------------->

 

 

<------------->

 

ว่าวปักเป้ามีลักษณะเช่นเดียวกับว่าวอีลุม แต่ทว่าไม้ส่วนโครงที่เป็นปีกจะแข็งกว่าปีกของอีลุ้มมาก จึงต้องมีหางที่ทำด้วยผ้าเป็นเส้นยาวถ่วงอยู่ที่ส่วนก้น เมื่อชักขึ้นไปลอยอยู่ในอากาศแล้วจะไม่ลอยอยู่เฉยๆจะส่ายตัวไปมาน่าดูมากและเมือถูกคนชักกระตุกสายเชือกป่านตามวิธีการแล้ว มันจะเคลื่อนไหวโฉบเฉี่ยวไปมาท่าทางต่างๆตามต้องการ

ว่าวจุฬามีลักษณะเป็น 5 แฉก ประกอบเป็นโครงขึ้นด้วยไม้ 5 อัน นักเลงว่าวจะเสาะหาไม้ไผ่สีสุกที่มีปล้องยาวเรียว เรียกว่า “เพชรไม้” มาเหลา อันกลางเรียกว่า “อก” เหลาปลายเรียวหัวท้าย 1 อัน อีก 2 อัน ผูกขนาบตัวปลายให้จรดกันเป็นปีก และอีก 2 อัน เป็นขาว่าวเรียกว่า “ขากบ” จากนั้นขึงด้ายเป็นตารางตลอดตัวว่าว เรียกว่า “ผูกสัก” แล้วใช้กระดาษสาปิดทับลงบนโครง สำเร็จเป็นว่าวจุฬา ถ้าหากไม่ถูกสัดส่วนแล้ว ว่าวจะไม่อาจลอยตัวขึ้นได้เลย

ว่าวดุ้ยดุ่ยมีรูปร่างแบบเดียวกับว่าวจุฬาแต่ขากบเป็นรูปเดียวกับปีก ติดอยู่ซ้อนกัน ส่วนบนใหญ่ส่วนล่างจะเล็ก สุดตัวตอนล่างมีไม้ขวางอีกอันหนึ่ง สำหรับผูกหาง ซึ่งมีสองหางช่วยในการทรงตัวเมื่อลอยขึ้นไปอยู่ในอากาศ

(1349)