ผ้ามัดหมี่

ผ้ามัดหมี่ในประเทศไทยพบได้มากในภาีคอีสาน โดยการมัดเป็นลวดลาย เช่น ลายนาค ลายโคม สัตว์ ดอกไม้ ใบไม้ ฯลฯโดยนิยมมัดเฉพาะเส้นพุ่ง อย่างไรก็ตาม ในหมู่ช่างทอแถบอีสานใต้ เช่น จังหวัดสุรินทร์ มีการทอผ้าที่มัดทั้งด้ายยืนและด้ายพุ่ง เกิดเป็นลายตาราง หรือกากบาทผ้าจากการมัดหมี่ อาจทอด้วยกรรมวิธีการทอสองตะกอตามปกติ หรือทอสามตะกอ เพื่อให้ได้ลวดลายในเนื้อผ้าที่ละเอียดเพิ่มขึ้นก็ได้

มัดหมี่ เป็นกรรมวิธีการทอผ้าแบบหนึ่ง ที่อาศัยการย้อมเส้นด้ายก่อนการทอ ทั้งที่ย้อมเฉพาะด้ายพุ่ง และย้อมด้ายยืน เพื่อให้เมื่อทอผ้าออกม้าเป็นผืนแล้ว เกิดเป็นลวดลายและสีสันตามที่ต้องการ เดิมนั้นนิยมใช้เส้นไหม แต่ปัจจุบันพบการมัดหมี่ทั้งเส้นไหม ฝ้าย และเส้นใยสังเคราะห์

 

<------------->

 

 

<------------->

 

คำว่า “มัดหมี่” มาจากกรรมวิธีการ “มัด” เส้นด้ายเป็นกลุ่มๆ ก่อนการย้อมสี ส่วน “หมี่” นั้น หมายถึงเส้นด้าย การมัดหมี่ใช้ขั้นตอนยุ่งยาก ตั้งแต่การเตรียมเส้นด้าย และมัดเพื่อย้อมสีเป็นช่วงๆ กระทั่งได้สีที่ต้องการครบถ้วย ซึ่งต้องย้อมหลายครั้งด้วยกัน ในภาคเหนือนิยมเรียกว่า มัดก่าน ในต่างประเทศนิยมใช้คำว่า ikat ซึ่งเป็นคำศัพท์ภาษาอินโดนีเซีย-มลายู

อาจมีความสับสนระหว่างคำว่า มัดหมี่ และ มัดย้อม ซึ่งพบได้มากในปัจจุบัน กล่าวคือ มัดหมี่ นั้นเป็นการมัดเส้นด้ายเพื่อนำมาใช้ทอ มีหลากสี และมีลวดลายที่ละเอียด ส่วน มัดย้อม นั้น เป็นการนำผ้าสำเร็จมามัดแล้วย้อมสี (มักจะย้อมครั้งเดียว สีเดียว) มีลวดลายขนาดใหญ่ ไม่เน้นลักษณะของลวดลายให้ชัดเจนนัก

(847)