น้ำเงี้ยว

น้ำเงี้ยว หรือ น้ำงิ้ว เนื่องจากมีส่วนประกอบคือดอกเงี้ยวหรือดอกงิ้ว เป็นอาหารภาคเหนือของประเทศไทย ที่จะมีพริกแกงที่เป็นเอกลักษณ์ของทางภาคเหนือ มักจะมีรสเค็ม เผ็ด มักจะใช้รับประทานกับ ขนมจีน (ขนมเส้น) หรือเส้นก๋วยเตี๋ยวน้ำเงี้ยวคือน้ำแกงรสชาติเค็มเผ็ด มีรสเปรี้ยวจากมะเขือเทศ สำหรับใส่ขนมจีน หรือ เส้นก๋วยเตี๋ยว เช่นเดียวกับน้ำก๋วยเตี๋ยว หรือขนมจีนน้ำยา ซึ้งชาวไทใหญ่มักจะเรียกน้ำเงี้ยวนี้ว่า น้ำหมากเขือส้ม ซึ่งถ้าใส่ขนมจีน ก็เรียกว่า เข้าเส้นน้ำหมากเขือส้ม คำว่า น้ำเงี้ยว นี้มีผู้เรียกว่า น้ำงิ้ว เนื่องจากในการปรุงนั้นใช้เกสรดอกงิ้วชนิดดอกแดงตากแห้ง ใส่ลงไป ซึ้งหมายถึงดอกเงี้ยวเป็นส่วนประกอบสำคัญในการปรุง

 

น้ำเงี้ยวเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมในหมู่ชาวล้านนามาแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบัน น้ำเงี้ยวมักจะมีการปรุงจัดเลี้ยงในงานต่าง ๆ ถือว่าเป็นอาหารมงคลอย่างหนึ่งของชาวล้านนา

 

<------------->

 

 

<------------->

 

เรียกขนมจีนว่า ขนมเส้นหรือข้าวเส้น นิยมขนมจีนน้ำเงี้ยวที่มีดอกงิ้วเป็นองค์ประกอบสำคัญ กินกับแคบหมูเป็นเครื่องเคียง เดิมที ขนมจีนไม่ได้รับประทานพร้อมกับน้ำเงี้ยว แต่เพิ่งนำประยุกต์มารับประทานพร้อมกันไม่นานมานี้ น้ำเงี้ยวเป็นอาหารของชาวเงี้ยวซึ่งเป็นกลุ่มไทใหญ่ที่อาศัยอยู่ในรัฐฉาน ประเทศพม่า

 

ต่อมาอพยพหนีการสู้รบกับรัฐบาลพม่า จึงเข้ามาอาศัยกระจายทั่วไปทุกจังหวัดภาคเหนือ แต่ที่เป็นชุมแหล่งใหญ่คือจังหวัดแพร่ เนื่องจากในยุคนั้นมีการสัมปทานพื้นที่การทำป่าไม้ให้กับบริษัทจากอังกฤษ มีความต้องการแรงงานมาก ชาวเงี้ยวจึงปักหลักอาศัยเป็นชุมชนใหญ่ที่นี่ ปัจจุบันขนมจีนน้ำเงี้ยวนิยมรับประทานควบคู่ ผักนานาชนิด, แคบหมู, ส้มตำ,เนื้อทอด

(606)