ดอกทองกวาว

ทองกวาว (อังกฤษ: Bastard Teak, Bengal Kino, Flame of the Forest) เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางในวงศ์ถั่ว มีถิ่นกำเนิดในเอเชียใต้ จากประเทศปากีสถาน, อินเดีย, บังกลาเทศ, เนปาล, ศรีลังกา, พม่า, ไทย, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม, มาเลเซีย, และทางตะวันตกของอินโดนีเซีย ดอกไม้ประจำจังหวัดเชียงใหม่, ลำพูน, อำนาจเจริญ, อุดรธานี

ทองกวาวมีชื่ออื่นอีกคือ กวาว ก๋าว (ภาคเหนือ), จอมทอง (ภาคใต้), จ้า (เขมร), ทองธรรมชาติ ทองพรหมชาติ ทองต้น (ภาคกลาง), ดอกจาน (อิสาน)

เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 12-18 เมตร เปลือกต้นเป็นปุ่มปม กิ่งอ่อนมีขนละเอียดสีน้ำตาลหนา การแตกกิ่งก้านไปในทิศทางที่ไม่ค่อยเป็นระเบียบ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบ เรียงสลับใบย่อยที่ปลายรูปไข่ กลีบแกมสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ใบย่อยด้านข้างเป็นรูปไม่เบี้ยว กว้าง 8-15 เซนติเมตร ยาว 9-17 เซนติเมตร ขอบใบเรียบ ดอกออกเป็นช่อคล้ายดอกทองหลาง สีแดงส้ม มีความยาว 6-15 เซนติเมตร มีดอกย่อยเกาะเป็นกลุ่ม เวลาบานมี 5 กลีบ จะออกดอกดกที่สุดในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี ผลมีลักษณะเป็นฝักสีน้ำตาลอ่อน แบน โค้งงอเล็กน้อย ไม่แตก ด้านบนหนาแตกเป็น 2 ซีก มีเมล็ดขนาดเล็กอยู่ภายใน 1 เมล็ด ฝักยาวประมาณ 10-12 เซนติเมตร กว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร

 

<------------->

 

 

<------------->

 

ประโยชน์

ดอก ต้มดื่มเป็นยาแก้ปวด ถอนพิษไข้ ขับปัสสาวะ   ฝักต้มเอาน้ำเป็นยาขับพยาธิ   ยางแก้ท้องร่วง  เปลือกมีงานวิจัยพบว่า สารสกัดจากเปลือก ช่วยเพิ่มขนาดหน้าอกให้ใหญ่ขึ้น แต่จะลดจำนวนอสุจิ  เมล็ดบดผสมมะนาว ทาบริเวณผื่นคัน  ใบต้มกับน้ำ แก้ปวด ขับพยาธิ ท้องขึ้น ริดสีดวงทวาร  รากต้มรักษาโรคประสาท บำรุงธาตุ

คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นทองกวาวไว้ประจำบ้านจะทำให้มีเงินมีทองมาก เพราะทองกวาวเป็นไม้มงคลนาม คือสามารถมีทองได้ตามธรรมชาติหรือมีทองมากนั่นเอง นอกจากนี้ดอกยังมีความสวยเรืองรองดั่งทองธรรมชาติ

(1489)