คอลลอยด์

คอลลอยด์ ( colloid) เป็นสารผสมที่ดูเหมือนจะเป็นเนื้อเดียวกัน โดยแบ่งเป็นส่วนเนื้อเดียว และอนุภาคคอลลอยด์ ซึ่งตัวอนุภาคคอนลอยด์จะมีขนาด 2-500 นาโนเมตร ซึ่งคอลลอยด์สามารถพบได้ในชีวิตประจำวันอาจจะเป็นสีขาวขุ่นหรือมีสีเล็กน้อย เช่น นม ควันปรากฏการณ์นี้ได้รับการศึกษาขึ้นในปี 1861 โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวสก็อตที่มีชื่อว่า Thomas Graham

ปรากฏการณ์ทินดอลล์

ปรากฏการณ์ทินดอลล์ (Tyndall Effect) คือปรากฏการณ์กระเจิงแสง เมื่อฉายลำแสงไปในสารคอลลอยด์บางชนิด อนุภาคคอลลอยด์จะช่วยกระเจิงแสงและทำให้มองเห็นเป็นลำแสงได้ เช่นการทอแสงของอากาศที่มีละอองฝุ่นอยู่ ค้นพบโดย จอห์น ทินดอลล์ ในปี พ.ศ.2412 เช่น หมอก ฝุ่น

การเคลื่อนที่แบบบราวน์ (Brownian Motion) คือการเคลื่อนที่ของอนุภาคคอลลอยด์ซึ่งเกิดจากการเคลื่อนที่แบบสุ่ม โดยการชนไปมาของอนุภาคจากส่วนเนื้อเดียว ซึ่งโรเบิร์ต บราวน์ค้นพบปรากฏการณ์นี้ในการส่องควันโดยกล้องจุลทรรศน์

(212)