เหงือกปลาหมอ

เหงือกปลาหมอ(อังกฤษ: Sea holly; ชื่อวิทยาศาสตร์ Acanthus ebracteatus Vahl ชื่อท้องถิ่น แก้มหมอ แก้มหมอเล จะเกร็งนางเกร็ง อีเกร็ง เหงือกปลาหมอน้ำเงิน ประโยชน์ของเหงือกปลาหมอนั้น เป็นสมุนไพรใกล้ตัวหรืออาจจะเรียกว่าสมุนไพรชายน้ำ/สมุนไพรชายเลนก็ได้ ช่วยรักษาโรคได้มากมายหลายชนิดเหงือกปลาหมอเกิดเองตามบริเวณป่าชายเลน ชอบขึ้นตามชายน้ำริมลำคลอง ชายฝั่งแม่น้ำที่มีน้ำเค็ม-น้ำกร่อยขึ้นถึง หรือที่ชุ่มชื้นทั่วไป ไม่ชอบที่ดอนเหงือกปลาหมอนั้นจะพบอยู่ 2 พันธุ์ คือ ชนิดที่เป็นดอกสีขาวและดอกสีม่วง ดอกสีขาวจะพบมากในทางภาคกลางและภาคตะวันออกส่วนดอกสีม่วงจะพบมากทางภาคใต้

เป็นพืชที่มีลักษณะเป็นไม้พุ่ม มีความสูงถึง 1.5 เมตร ลำต้นของพืชชนิดนี้จะมีลักษณะแข็ง มีหนามอยู่ตามข้อของลำต้น ถ้าเป็นต้นที่เจริญเติบโตตามธรรมชาติหรือไม่มีการตัดออกไป จะมีลักษณะของลำต้นตั้งตรงพุ่งสูงขึ้น แต่ถ้ามีการตัดออกนำไปใช้ประโยชน์บ้างก็จะแตกเป็นพุ่มออกมาใหม่

สรรพคุณ
ราก : สรรพคุณช่วยขับเสมหะ เป็นยาอายุวัฒนะ แก้หืด แก้อัมพาต บำรุงประสาท รักษามุตกิดระดูขาว
ต้น : รสเค็มกร่อย สรรพคุณแก้ปวดศีรษะ ช่วยถอนพิษ แก้ลมพิษ แก้พิษฝีดาษ ถ้าใช้ทาจะช่วยโรคเหน็บชาได้
ใบ : รสเค็มกร่อยร้อน สรรพคุณช่วยรักษาแผลอักเสบ แก้โรคผิวหนัง แก้ไข้ แก้ปวดต่างๆ รักษากลากเกลื้อน ใช้นำคั้นจากใบนำมาทาศีรษะ จะช่วยในการบำรุงรากผม
ผล : รสเผ็ดร้อน สรรพคุณช่วยถอนพิษ ขับโลหิต
เมล็ด : รสเผ็ดร้อน สรรพคุณช่วยขับน้ำเหลืองที่เสีย ขับพยาธิ ปิดพอกฝี

ใช้เหงือกปลาหมอทั้ง 5 (ราก,ต้น,ใบ,ผล,เมล็ด) มีสรรพคุณช่วยแก้พิษฝี แก้มะเร็ง ช่วยในการเจริญอาหาร ช่วยให้เลือดลมปกติ เป็นยาอายุวัฒนะ

เหงือกปลาหมอมีทั้งผลิตภัณฑ์ที่เป็นยาแคปซูลสมุนไพร ยาชงสมุนไพรและยาเม็ด สรรพคุณช่วยในการรักษาโรคผิวหนังและยังเป็นยาสมุนไพรที่ใช้ในการอบตัว คืออบด้วยไอน้ำ ซึ่งได้มาจากที่ต้มสมุนไพร การอบแห้งหรือการซาวนา (Sauna) อีกทั้งเหงือกปลาหมอนั้นยังเป็นส่วนผสมในการผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางอีกด้วยไม่ว่าจะเป็น สบู่ ผลิตภัณฑ์เปลี่ยนสีผม จนกระทั่งแชมพูของสุนัข เป็นต้น

(337)