contact lens

เลนส์สัมผัส ( contact lens) เป็นเลนส์สำหรับแก้สายตา, บำบัดโรค, หรือเพื่อความสวยงาม ปกติจะวางบนกระจกตาเลนส์สัมผัสมีวัตถุประสงค์ใช้งานเหมือนแว่นสายตาทั่วไป แต่มีน้ำหนักเบากว่า และมองแทบไม่เห็น ให้ความคล่องตัวมากกว่าแว่นสายตาในปี คศ. 1508 ในหนังสือเรื่อง Codex of the eye, Manual D เขาอธิบายถึงวิธีการปรับเปลี่ยนกำลังสายตาของกระจกตาของมนุษย์โดยการมองใต้น้ำ อย่างไรก็ตาม เขาไม่ได้กล่าวถึงว่าวิธีการดังกล่าวจะถูกใช้ในการแก้ปัญหาสายตา เลโอนาร์โด ดา วินชี สนใจศึกษาเกี่ยวกับ กลไกการเพ่งของสายตา

เรเน่ เดสคาเตส นักเขียนและนักปรัชญา ชาวฝรั่งเศส ผู้ร่วมสร้างและปรับปรุงกฎการเปลี่ยนทิศทางของคลื่น หรือ กฎของสเนล นำเสนอแนวคิดในปี คศ. 1636 โดยนำแท่งแเก้วที่เติมด้วยของเหลว ไปวางบน กระจกตา โดยตรงโดยที่ปลายแท่งแก้วนำ กระจกที่มีรูปร่างเหมาะสมในการแก้ปัญหาสายตามาวางไว้ อย่างไรก็ตามแนวคิดนี้ใช้ไม่ได้ในทางปฏิบัติเพราะไม่สามารถกะพริบตาได้

ในปี คศ. 1801 ในระหว่างการทำลองกลไกเกี่ยวกับ การเพ่งของสายตา นักวิทยาศาสตร์ โธมัส ยัง ได้สร้าง ถ้วยใส่ของเหลว มีชื่อว่า “eyecup” ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นต้นแบบของ เลนส์สัมผัส โดยที่ฐานของถ้วย เขาได้ใส่ เลนส์ตาของกล้องจุลทรรศน์ เอาไว้ อย่างไรก็ตามอุปกรณ์นี้ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาสายตาเซอร์จอหน์เฮอเชลล์ ในปี คศ. 1845 ในสรุปท้ายเรื่องของหนังสือ Encyclopedia Metropolitana ได้นำเสนอสองแนวคิดเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาสายตา วิธีแรกคือ แคปซูลแก้วที่เติมเจลลาตินไว้ข้างใน กับวิธีที่สองคือ การหล่อผิวกระจกตาที่สามารถแปะผิวโดยวัสดุตัวกลางที่มีความใส ทั้งนี้เขาไม่ได้ทำการทดสอบวิธีการดังกล่าวแต่อย่างใด จนกระทั่งในปี คศ. 1929 ดอกเตอร์ดาลลอส ชาวฮังการี ได้ค้นพบวิธีหล่อวัสดุให้เข้ากับตา นำๆไปสู่การผลิตเลนส์ที่เข้ากับรูปร่างดวงตา เป็นครั้งแรก

แต่ก็ยังไม่ใช่เลนส์สัมผัส จนกระทั่งในปี คศ. 1887 เอฟอีมูเลอร์ ช่างเป่าแก้วชาวเยอรมัน ได้ผลิตวัสดุวางครอบผิวกระจกตา ที่ใสและมองทะลุผ่านได้ และในปีเดียวกัน อดอลฟอูเกนฟิค นักทัศนศาสาตร์ ชาวเยอรมัน ได้สร้างและทดสอบการใช้เลนส์สัมผัสเป็นครั้งแรก ระหว่างการทำงานใน ซูริก เขาได้อธิบายเกี่ยวกับการขึ้นรูปวัสดุ และการวางขอบเลนส์บนเนื้อเยื่อตาขาว ซึ่งมีความอ่อนไหวน้อยกว่า

การทดลองเบื้องต้นกับกระต่าย และโดยตัวเขาเอง และท้ายที่สุดผู้สมัครใจทดลองร่วมกลุ่มเล็กๆ เลนส์ดังกล่าวทำด้วยแก้วสีน้ำตาล ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 18–21 มิลลิเมตร เขาได้หยอด เด็กซ์โทรส ไว้ระหว่าง กระจกตา เยื่อบุตาขาว กับ ตัวเลนส์แก้วไว้ด้วย เขาได้ตีพิมพ์ผลงานไว้ในบทความ “Contactbrille” ซึ่งเผยแพร่ในนิตยสารวิทยาศาสตร์ ชื่อ Archiv für Augenheilkunde ในเดือน มีนาคม ปี คศ. 1888

(157)