ตะกอนน้ำพารูปพัด (alluvial fan)

ตะกอนน้ำพารูปพัด (alluvial fan) เกิดจากทางน้ำที่ไหลจากหุบเขาชันลงสู่พื้นราบ เมื่อความเร็วของกระแสน้ำลดลงจนไม่สามารถนำพาตะกอนบางส่วนต่อไปได้ ตะกอนดังกล่าวจึงตกสะสมบริเวณใกล้กับเนินเขาในลักษณะที่กระจายออกไปรอบข้างเป็นรูปพัด ตะกอนประกอบด้วยชั้นทรายสลับกับชั้นกรวดและดินเคลย์ มีการคัดขนาดปานกลาง

มีสีน้ำตาลและน้ำตาลปนเทา มักแสดงลักษณะโครงสร้างชั้นตะกอนแบบเรียงขนาดจากเล็กขึ้นไปใหญ่ (coarsening upward sequence) ตะกอนหน่วยนี้ไม่หนามากนัก ประมาณ 5-20 เมตร และครอบคลุมพื้นที่ไม่กว้างขวาง

ลักษณะของตะกอน Alluvial fan
–  รูปกรวย หรือโค้ง เมื่อมองจากด้านบน จะมีลักษณะคดโค้งและพัฒนาเต็มที่
–  ภาพตัดขวางตามแนวยาว (fanhead ไป fantoe) มีลักษณะเว้า
–  ภาพตัดขวางตามกว้าง มีลักษณะนูน

(5912)