โดโลไมต์ (dolomite)

โดโลไมต์ (dolomite) เป็นชื่อแร่ ตั้งชื่อให้เป็นเกียรติแก่นักเคมีชาวฝรั่งเศส Déodat Gratet de Dolomieu ผลึกของแร่มักจะพบในรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ผิวหน้าผลึกมักจะโค้ง บางครั้งจะโค้งเป็นรูปคล้ายอานม้า ผลึกในแบบอื่นมีพบได้บ้างแต่น้อย ซึ่งอาจพบเป็นเม็ดหยาบๆ ไปจนกระทั่งเม็ดเล็กเกาะกันแน่น

 

โดโลไมต์ วาวคล้ายแก้ว บางชนิดวาวคล้ายมุก (Pearl Spar) สีปกติมักจะมีสีออกชมพู สีเนื้อ อาจไม่มีสีหรือพบสีขาว เทา เขียว น้ำตาล หรือสีดำ เนื้อแร่มีทั้งโปร่งใสและโปร่งแสง

ลักษณะเด่นและวิธีตรวจ ทำปฏิกิริยากับกรดเกลือ (HCl) แต่ช้ามาในอุณหภูมิธรรมดา นอกจากจะบดเนื่อแร่ให้เป็นก้อนเล็กๆ ละเอียด จึงละลายในกรดเป็นฟองฟู่ หากไม่บดต้องใช้กรดไฮโดรคลอริกร้อนๆจึงจะทำปฏิกิริยาเป็นฟองฟู่ รูปผลึกเหลี่ยมขนมเปียกปูนมักจะโค้งและมีสึออกสีเนื้อๆเนื้อปกติมักจะด้าน

มีกำเนิดเช่นเดียวกับแคลไซต์ พบในหินปูนโดโลมิติก (Dolomitic limestone) หรือในหินอ่อนโดโลมิติก (Dolomitic marble) โดโลไมต์ที่พบมีมวลขนาดใหญ่ๆนั้น เข้าใจกันว่าเป็นการกำเนิดแบบทุติยภูมิ ซึ่งเกิดจากหินปูนที่มีอยู่เดิมถูกแทนที่ด้วยธาตุแมกนีเซียม หรือมักเกิดเป็นเพื่อนแร่ในสายตะกั่วหรือสังกะสีซึ่งตัดผ่านหินปูน

ใช้เป็นหินก่อสร้างหรือหินประดับ ทำปูนซีเมนต์บางชนิด ใช้ทำแมกนีเซียมซึ่งเป็นวัสดุทนไฟใช้สำหรับการบุเตาถลุงเหล็ก โดยเป็นเตาคอนเวอร์ในการผลิตเหล็กกล้าขั้นต้น โดโลไมต์เป็นสินแร่หลักของโลหะแมกนีเซียม ใช้ในอุตสาหกรรมทำแก้วบางชนิด เช่น พวกแก้วแผ่น เป็นต้น

(531)