แคสซีนี–ฮอยเกนส์ (Cassini–Huygens)

แคสซีนี–ฮอยเกนส์ (Cassini–Huygens) เป็นภารกิจยานอวกาศร่วมระหว่างนาซา/ESA/ASI เพื่อศึกษาดาวเสาร์และดาวบริวารตามธรรมชาติจำนวนมากตั้งแต่ พ.ศ. 2547 ถูกปล่อยขึ้นสู่อวกาศใน พ.ศ. 2540 หลังพัฒนาแนวคิดมานานเกือบสองทศวรรษ

 

ยานอวกาศดังกล่าวมีส่วนโคจรดาวเสาร์และยานสำรวจและส่วนลงอุตุนิยมวิทยาสำหรับดวงจันทร์ไททัน แม้มันจะยังส่งกลับข้อมูลอย่างอื่นอีกอย่างกว้างขวาง รวมไปถึงเฮลิโอสเฟียร์ ดาวพฤหัสบดี และการทดสอบสัมพัทธภาพ ยานสำรวจไททัน ฮอยเกส์ เข้าและลงจอดบนไททันใน พ.ศ. 2548 แผนภารกิจช่วงสุดท้ายปัจจุบันคือการพุ่งชนดาวเสาร์ใน พ.ศ. 2560

ยานสำรวจอวกาศแคสซีนี-ฮอยเกนส์ที่สมบูรณ์ถูกปล่อยขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2540 โดย ไททัน 4บี/เซ็นทอร์ และหลังการเดินทางระหว่างดาวเคราะห์อันยาวนาน มันได้เข้าสู่วงโคจรรอบดาวเสาร์เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ยานสำรวจฮอยเกนส์ถูกแยกจากส่วนโคจรเมื่อเวลาประมาณ 02:00 UTC ฮอยเกนส์ถึงดวงจันทร์ไททันของดาวเสาร์เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2548

เมื่อมันเคลื่อนเข้าไปในชั้นบรรยากาศของไททัน และลดระดับลงจนถึงพื้นผิว ส่งข้อมูลทางวิทยาศาสตร์กลับไปยังโลกด้วยการตรวจวัดทางไกล (telemetry) ซึ่งการลงจอดดังกล่าวนับเป็นการลงจอดที่ประสบความสำเร็จครั้งแรกในระบบสุริยะชั้นนอก

แคสซีนีเป็นยานสำรวจอวกาศลำที่สี่ที่ไปถึงดาวเสาร์และลำแรกที่เข้าสู่วงโคจร

(64)