แนวดาวเคราะห์เรียงตัว (Planetary Alignment)

วันที่ 13 – 15 เมษายน 2557 นี้ ดวงอาทิตย์ โลก ดาวพฤหัส ดาวอังคารและดวงจันทร์จะมาเรียงตัวกัน หลายคนคิดไปว่าเมื่อดาวมาเรียงตัวกันจะส่งแรงมารบกวนโลกมากขึ้น ความคิดนี้ไม่ถูกต้อง เพราะแรงรบกวนมีอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะเมื่ออยู่ใกล้กับโลกมากที่สุด แต่แรงโน้มถ่วงที่เกิดจากดาวเคราะห์มีน้อยมากเมื่อเทียบกับดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ และปรากฏการณ์บนโลกที่เกิดเพราะแรงโน้มถ่วงของดวงจันทร์และของดวงอาทิตย์คือ ปรากฏการณ์น้ำขึ้น-น้ำลง

 

ปรากฏการณ์น้ำขึ้น-น้ำลง เกิดจากแรงโน้มถ่วงของดวงจันทร์และของดวงอาทิตย์ที่กระทำต่อโลก จากกฏแรงโน้มถ่วงระหว่างดวงดาวของนิวตัน เราสามารถคำนวณได้ว่า แรงโน้มถ่วงของดวงอาทิตย์ที่กระทำต่อโลกมีค่ามากกว่าแรงโน้มถ่วงที่ดวงจันทร์กระทำต่อโลก แต่แรงโน้มถ่วงที่คำนวณได้นี้ไม่ได้ส่งผลโดยตรงต่อน้ำขึ้น-น้ำลงบนโลก เราจะเรียกแรงที่ดวงจันทร์หรือดวงอาทิตย์ทำให้เกิดน้ำขึ้น-น้ำลงบนโลกว่า“แรงน้ำขึ้น-น้ำลง” หรือ “แรงไทด์”

แรงโน้มถ่วงระหว่างวัตถุ 2 สิ่งจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับมวล และ ระยะห่างระหว่างวัตถุ ยิ่งมวล มาก แรงดึงดูดระหว่างกันก็ยิ่งมาก แต่สิ่งสำคัญมากกว่านั้น คือ ระยะห่างหากวัตถุยิ่งอยู่ไกลกันมาก ก็ยิ่งมีแรงกระทำต่อกันน้อยลง เราจึงคำนวณแรงกระทำของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์ 5 ดวง ต่อโลก ณ จุดต่าง ๆ บนโลกได้จากมวลและระยะห่างระหว่างโลกกับดาวเคราะห์เหล่านั้น ได้ตามกฏของนิวตัน 

 

Cr. truth4thai

(557)