เบื้องหลังสีสันที่สวยงามของ แมงมุมนกยูง

การศึกษาล่าสุดที่ถูกตีพิมพ์ในวารสาร  Nature Communications นำทีมโดย Bor-Kai Hsiung จาก Scripps Institution of Oceanography at the University of California San Diego พร้อมทีมนักวิจัยนานาชาติ ได้ทำการศึกษาสิ่งที่อยู่เบื้องหลังของการเปลี่ยนแปลงสีสันที่สวยงามของแมงมุมนกยูง

  

พวกเขาได้ศึกษาแมงมุมนกยูงสายพันธุ์ Maratus robinsoni พบว่าสิ่งที่อยู่เบื้องหลังของการเปลี่ยนแปลงสีสันที่งดงามบนตัวพวกมันนั้น เป็นอวัยวะที่อยู่ช่วงท้องคอยทำหน้าที่แบ่งแยกความยาวคลื่นแสงไปมา จนมองเห็นเป็นสีสันที่สวยงามไม่ซ้ำกัน

แมงมุมนกยูงเป็นแมงมุมขนาดเล็ก ลำตัวยาวประมาณ 4 – 5 มิลลิเมตร ตัวเมียมีสีน้ำตาล ส่วนตัวผู้มีสีสันสวยงาม โดยจะมีขนสีสันสวย ในช่วงเวลาของการเกี้ยวพาราสีนั้นแมงมุมตัวผู้จะแสดงท่าทางเสมือนการรำแพนของนกยูงเพื่อดึงดูดตัวเมีย

ข้อมูลเพิ่มเติม

(1969)