Tambora เถ้าภูเขาไฟปกคลุมทั่วฟ้า

ภูเขาไฟตัมโบรา เป็นภูเขาไฟที่ตั้งอยู่บนเกาะซัมบาวา ประเทศอินโดนีเซีย เดิมทีภูเขาแห่งนี้มีความสูงถึง 4,300 เมตร แต่หลังจากการระเบิดในวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2358 มันได้เหลือความสูงเพียง 2,850 เมตร และกลายเป็นแอ่งขนาดใหญ่กว้างกว่า 6 กิโลเมตร ลึกไปกว่า 1 กิโลเมตร

การระเบิดในครั้งนั้น มีความรุนแรงระดับ VEI-7 โดยมีรายงานว่า ได้เกิดเสียงดังสนั่นหวั่นไหวไปไกลกว่า 850 กิโลเมตร ต้นไม้บนเกาะล้มระเนระนาด มีการไหลของลาวาท่วมอยู่รอบภูเขาไฟ และการพวยพุ่งของเถ้าเขม่าและควันก๊าซกว่า 175,000,000,000 ลูกบาศก์เมตร ขึ้นไปปกคลุมท้องฟ้า ทำให้บริเวณนั้นมืดมิดและไม่ได้รับแสงอาทิตย์นานถึง 2 วัน

 

<------------->

<------------->

 

ซึ่งนักวิทยาศาสตร์พบว่า หลังภูเขาไฟระเบิด ชั้นบรรยากาศของโลกเต็มไปด้วยฝุ่นเถ้า เป็นเหตุให้พื้นผิวโลกได้รับแสงอาทิตย์ลดน้อยลงถึง 20 % ทำให้อุณหภูมิทางซีกโลกเหนือลดลงมากและมีผลกระทบไปทั่วทุกมุมโลก โดยหลายทวีปเข้าสู่ความมืดมิดเนื่องจากฝุ่นละอองได้บดบังไว้ ในบางประเทศมีฝนตกหนักตลอดสัปดาห์ โดยในปีต่อมาทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือก็ได้เข้าช่วงปีไร้ฤดูร้อน กว่าฝุ่นควันจากเถ้าภูเขาไฟจะจางหายไปก็ใช้เวลาเนิ่นนานหลายปี

แน่นอนว่ามันไม่ได้ทำแค่สร้างมลพิษเพียงอย่างเดียว เพราะในวันที่ภูเขาไฟระเบิด ลาวาได้ไหลเข้าท่วมเกาะซัมบาวากลบฝังผู้คนบนเกาะไปกว่า 8,000 คน และมีจำนวนอีกเกือบ 1 แสนคน ได้ประสบกับโรคระบาด บางส่วนต้องกลายเป็นคนพิการ รวมถึงการมีสภาวะการอดอยาก เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนี้มากกว่า 71,000 คน

ซึ่งหลังจากหายนะได้จบสิ้นลง ภูเขาไฟตัมโบราก็ได้ตอบแทนความเจ็บปวดของผู้คน โดยการทิ้งธาตุภูเขาไฟไว้บนผืนดิน ธาตุภูเขาไฟเหล่านั้นได้เสริมความอุดมสมบูรณ์ให้แก่พื้นดินและทำให้พืชผลงอกงามมาจนถึงปัจจุบัน

(1957)