Rama’s Bridge สะพานสองแดน

สะพานพระราม หรือ สะพานของอดัม (Adam’s Bridge) เป็นสะพานหินเรียงพาดผ่านช่องแคบ Palk Strait เชื่อมระหว่างเกาะแพมแบน (Pamban) ที่ตั้งเมืองราเมศวารัม (Rameswaram) และเกาะมันนาร์ (Mannar) ของประเทศศรีลังกา

สะพานนี้มีความยาว 50 กิโลเมตร ลึกลงไป 1-10 เมตร มีรายงานว่า ในอดีตสามารถเดินเท้าข้ามไปมาระหว่างสองประเทศได้ จนกระทั่งในปีค.ศ. 1480 ได้มีพายุไซโคลนพัดสะพานจมหายลงใต้ทะเล ความโค้งของสะพานนี้ ทำให้นักวิชาการเชื่อว่ามันเป็นฝีมือมนุษย์ จากการศึกษาพบว่าพื้นที่แห่งนี้เคยเป็นถิ่นฐานของมนุษย์ซึ่งมีมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ โดยนักโบราณคดีเชื่อว่า สะพานแห่งนี้เกิดขึ้นเมื่อราว 1.75 ล้านปี ซึ่งอาจเป็นหลักฐานได้ว่ามนุษย์มีการถือกำเนิดขึ้นมาตั้งแต่ตอนนั้น หลังจากการศึกษาอย่างต่อเนื่องนักโบราณคดีและนักวิทยาศาสตร์คำนวนอายุสะพานแห่งนี้ได้ราว 125,000 ปี

สอดคล้องสะพานพระรามในมหากาพย์รามายณะของอินเดีย ซึ่งชื่อแปลได้ว่า สะพานที่สร้างโดยกองทัพของพระราม มีวัตถุประสงค์เพื่อเดินทางไปกรุงลงกาและช่วยเหลือภรรยาของเขา

 

<------------->

<------------->

 

เช่นเดียวกันสะพานแห่งนี้ก็ได้ถูกกล่าวถึงในหนังสือถนนและอาณาจักร ชื่อว่า “ประวัติศาสตร์งานศตวรรษที่ 9” โดย Ibn Khordadbeh ต่อมา Alberuni ได้อธิบายแผนที่แรกที่ชาวอังกฤษท่านหนึ่งได้เขียนเมื่อปีพ.ศ. 2347 ซึ่งเรียกบริเวณนี้ว่า สะพานอดัม ว่าแหล่งข้อมูลของอิสลามบางแห่งอ้างถึงภูเขาในศรีลังกาเป็นยอดเขาอดัม ซึ่งเป็นยอดเขาที่อดัมตกลงสู่พื้นดินและได้ข้ามจากศรีลังกาไปยังอินเดีย

อย่างไรก็ตามมีผู้ถกเถียงว่า แท้จริงอาจเกิดมาจากแนวประการังและการสะสมของหินตะกอนตามธรรมชาติ โดย ศาตราจารย์ เอส.เอ็ม.รามาซามี จากทีมสำรวจจากศูนย์เพื่อการสำรวจระยะไกล มหาวิทยาลัย Bharathidasan ระบุว่าสะพานแห่งนี้อาจมีอายุเพียง 3,500 ปี โดยศึกษาข้อมูลจากแนวปะการังใต้ทะเล ซึ่งไม่ว่าจะมาจากคนสร้างหรือธรรมชาติสรรสร้าง สถานที่แห่งนี้ก็นับว่าเป็นหนึ่งในสถานที่ที่น่าสนใจไม่น้อย

(23884)