Nacreous clouds เมฆที่ได้ชื่อว่าเป็นไข่มุกของเมฆ

Nacreous clouds หรือ Polar stratospheric cloud หรือ เมฆสตราโตสเฟียร์บริเวณขั้วโลก  เมฆชนิดนี้ ถูกขนานนามว่าไข่มุกของเมฆ เพราะสีนวลตาและมีหลากสีที่สดใส จะพบได้แถบใกล้ ๆ ขั้วโลก เช่นสแกนดิเนเวียตอนช่วงหน้าหนาว เวลาเย็น ๆ ที่แสงอาทิตย์ส่องผ่าน เป็นเวลา 2 ชั่วโมงเท่านั้นที่เราจะเห็นเมฆแบบนี้

เมฆสตราโตสเฟียร์บริเวณขั้วโลก จะเกิดมากในช่วงที่มีอากาศเย็นจัด เพราะในช่วงฤดูหนาวในขั้วโลกกินระยะเวลานาน 3 เดือน ทำให้ไม่ได้รับรังสีจากดวงอาทิตย์ การขาดความร้อนจากดวงอาทิตย์ก่อให้เกิดการลดลงของอุณหภูมิและเกิดกระแสน้ำเย็นวนแถบขั้วโลกซึ่งอาจมีอุณหภูมิ -80 องศาเซลเซียส

สามารถมองเห็นสีต่าง ๆ สว่างสวยงามเมื่อดวงอาทิตย์กำลังลับขอบฟ้า โดยแสงอาทิตย์กระทบกับเกล็ดน้ำแข็งและสะท้อนเข้ากับบรรยากาศชั้นสตาร์โตสเฟียร์

ทางซีกโลกเหนือจะเกิดขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคมไปจนถึงเดือนสิงหาคม ทางซีกโลกใต้จะเกิดขึ้นในช่วงพฤศจิกายนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ เกิดขึ้นจากการก่อตัวของผลึกน้ำแข็งที่ความสูง 76-85 กิโลเมตรเหนือพื้นดิน

 

<------------->

<------------->

 

(1978)