2018 CB ดาวเคราะห์น้อยที่เพิ่งเฉียดโลกไป

นาซ่าเผยว่าวันที่ช่วงเวลา 17:30 EST (22:30 GMT) ของวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2016 ที่ผ่านมาดาวเคราะห์น้อย 2018 CB ได้โคจรเข้ามาในระยะห่างเพียง 64,000 กิโลเมตรเท่านั้น ซึ่งถือว่าเข้ามาในระยะที่ใกล้มาก โดยหลักแล้วหากมีดาวเคราะห์น้อยเข้ามาใกล้โลกในระยะ 7,403,00 กิโลเมตร ถือเป็นเรื่องที่อันตรายมาก

2018 CB เป็นดาวเคราะห์น้อยที่ ขนาดประมาณ 15-40 เมตร ถูกค้นพบโดยนาซ่าเมื่อวันอาทิตย์ที่ 4 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

ทางผู้เชี่ยวชาญเตือนว่าดาวเคราะห์น้อยขนาดประมาณนี้จะเข้าใกล้โลกประมาณปีละ ครั้ง ถึง 2 ครั้ง

ดาวเคราะห์น้อย คือวัตถุทางดาราศาสตร์ขนาดเล็กกว่าดาวเคราะห์ แต่ใหญ่กว่าสะเก็ดดาว ดาวเคราะห์น้อยส่วนมากพบอยู่ในแถบดาวเคราะห์น้อย ซึ่งมีวงโคจรเป็นวงรีอยู่ระหว่างดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี เชื่อว่าดาวเคราะห์น้อยส่วนใหญ่เป็นซากที่หลงเหลือในจานดาวเคราะห์ก่อนเกิด ซึ่งไม่สามารถรวมตัวกันเป็นดาวเคราะห์ขนาดใหญ่ได้ระหว่างการก่อกำเนิดระบบสุริยะเนื่องจากแรงโน้มถ่วงรบกวนจากดาวพฤหัสบดี ดาวเคราะห์น้อยบางดวงมีดาวบริวาร หรือโคจรระหว่างกันเองเป็นคู่ เรียกว่า ระบบดาวเคราะห์น้อยคู่

 

ภาพประกอบจากนาซ่า

(6943)