สถานีอวกาศเมียร์ : Mir

สถานีอวกาศเมียร์ : Mir หมายถึง โลก และ สันติภาพ ในภาษารัสเซีย) เป็นสถานีอวกาศที่ประสบความสำเร็จสูงสุดของรัสเซีย และนับเป็นสถานีวิจัยถาวรระยะยาวแห่งแรกในอวกาศของมนุษยชาติ นักบินอวกาศจากหลายชาติได้ใช้งานสถานีอวกาศแห่งนี้ผ่านความร่วมมือระหว่างประเทศ

 

สถานีประกอบด้วยมอดูลต่าง ๆ หลายมอดูล แต่ละส่วนถูกทะยอยนำขึ้นสู่อวกาศ เริ่มจากส่วนแรกในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2529 จนถึงมอดูลสุดท้ายในปี พ.ศ. 2539

 

สถานีอวกาศเมียร์หมดอายุการใช้งานและถูกเผาทำลายในบรรยากาศโลกเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2544 จนกระทั่ง รัสเชีย(สหภาพโซเวียตเดิม)สามารถสร้างสถานีอวกาศแห่งใหม่ที่มีความพร้อมมากกว่าเก่าสถานีอวกาศแห่งนั้นคือสถานีอวกาศเมียร์ ด้วยประสบการณ์ในการพัฒนาสถานีอวกาศ Salyut Station ในช่วงปี 1971 ถึง 1882 ทำให้สถานีอวกาศแห่งใหม่ของรัสเซียมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

เมียร์เป็นสถานีอวกาศ ที่มีส่วนประกอบหลัก 7 ส่วนโดยถูกปล่อยขึ้นวงโคจรชิ้นแรกใน เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1986 หลังจากนั้นจึงทยอยชิ้นส่วนอื่นๆตามไปจนกระทั่งครบสมบูรณ์ ในปี 1996 โคจรเหนือโลกประมาณ 248-261 กิโลเมตรด้วยความเร็ว 28,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือประมาณ 16 รอบต่อ 1 วัน แต่กระนั้นเมียร์ก็ยังคงมีจุดบกพร่องอีกหลายจุด มีการเกิดอุบัติที่เหตุที่ไม่คาดฝันกับสถานีอวกาศแห่งนี้อยู่เสมอ

 

สถานีอวกาศเมียร์ ของรัสเชีย อันจัดได้ว่าเป็นสถานีอวกาศที่ทำการวิจัยนอกโลกที่ใช้งานมาอย่างยาวนาน และชาวโลกได้ใช้ประโยชน์จากสถานีอวกาศแห่งนี้หลายๆด้าน ไม่ใช่เฉพาะแต่ประเทศรัสเชียแต่หลายประเทศได้ใช้ประโยชน์จากมัน จนกระทั่งหมดอายุใช้งานลง 23 มีนาคม พ.ศ. 2544

(942)