ลีเมอร์แห่งป่าหิน : Lemur

บนเกาะ มาดากัสการ์ และหมู่เกาะ โคโมรอส มีสัตว์ที่ลึกลับชนิดหนึ่งอาศัยอยู่ ท่ามกลางภูมิประเทศอันแสนแปลกประหลาด ซึ่งเกิดจากการกัดกร่อนหินปูนของน้ำฝนมาเป็นเวลยาวนานและได้ก่อให้เกิดเป็นป่าหิน “ซิงกี้ (Tsingy)” แห่งเขตอนุรักษ์แห่งชาติเบมาราฮา พืชและสัตว์จำเป็นต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานที่ที่แสนพิเศษ และห่างไกลเช่นนี้ รวมทั้งสัตว์ที่เต็มไปด้วยความลึกลับสำหรับมนุษย์เราอย่าง “ลีเมอร์ (Lemur)” ด้วย

ในป่าหินซิงกี้ ซึ่งชาวพื้นเมืองอาวุโสได้ยกย่องให้เป็นสถานที่ของจิตวิญญาณแห่งบรรพบุรุษนั้น เป็นถิ่นที่อยู่ของลีเมอร์ถึง 7 สายพันธุ์ จากจำนวน 50 สายพันธุ์รวมไปถึงสายพันธุ์ย่อย ซึ่งจะพบได้ก็แต่บนเกาะมาดากัสการ์ และหมู่เกาะโคโมรอส ที่เป็นหมู่เกาะเพื่อนบ้านเท่านั้น

เรารู้เพียงแต่ว่า ลีเมอร์ นั้นเป็นลิงประเภทหนึ่ง และเป็นญาติกับมนุษย์ เช่นเดียวกับลิงทั่วไป ในจำนวนนั้น ลีเมอร์พันธุ์“ซิฟาก้า” มีน้ำหนักราว 4 กิโลกรัม เป็นพวกลีเมอร์ที่ใหญ่ที่สุด พวกมันใช้การแต่งขนในการกระชับสายสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัว ซึ่งการแต่งขนนั้นก็ถูกออกแบบมาให้เหมาะกับพวกมัน เนื่องมาจากการที่ลีเมอร์สายพันธุ์นี้มีขากรรไกรล่างที่เหมาะสมกับกิจกรรมดังกล่าว พวกมันมีฟันหน้าซึ่งคล้ายกับซี่ของหวีอย่างมากเลยทีเดียว

ถึงแม้ในยามที่ลีเมอร์ ซิฟาก้า นี้จะอ่อนเปลี้ยเพียงใด พวกมันก็จะยังคงเป็นนักกายกรรมที่เก่งกาจ โดยการกระโดดได้สูงกว่า 10 เมตร และสามารถกะระยะทางด้วยความแม่นยำอย่างสูงในส่วนของป่าหินที่สูงขึ้นไป บนผาหินของหุบเขาบริเวณก้นรอยแยกขนาดเล็ก“ลีเมอร์หนู (Mouse Lemur)”อาจจะถูกปลุกให้ตื่นขึ้นด้วยเสียงร้องของเหยี่ยว“เพเรกริน”ลีเมอร์หนูนั้นเป็นสัตว์ตระกูลลิงสายพันธุ์ที่เล็กที่สุด อาจจะหนักเพียง 60 กรัม และหากไม่นับรวมความยาวหางพวกมันก็จะยาวเพียงแค่ 10 เซนติเมตรเท่านั้น

ลีเมอร์หนู นั้นจะออกค้นหาอาหาร ซึ่งก็ได้แก่ แมลงและผลไม้ ในยามที่ความมืดเข้าครอบคลุมพื้นที่ป่า เพราะฉะนั้นในเวลากลางวันลีเมอร์หนูจึงต้องซ่อนตัวอย่างมิดชิดจากหุบเขา แอนคินาเจา (Ankinadjao) “ลีเมอร์หน้าแดง(Red – Fronted Lemur)” ได้เดินทางเข้ามาสู่เขตอนุรักษ์แห่งนี้ ลีเมอร์ชนิดนี้มีความตื่นตัวยิ่งกว่า ลีเมอร์ซิฟาก้าพวกมันจะเดินทางวันละหลายกิโลเมตรเพื่อหาอาหาร

  

 

การเดินทางของลีเมอร์หน้าแดงนั้นจะต้องเต็มไปด้วยความระมัดระวัง เพราะพวกมันจะต้องไต่ขึ้นไปตามสันอันแหลมคมของ ซิงกี้ ลีเมอร์หน้าแดงนั้นมีน้ำหนักเพียง 2 – 3 กิโลกรัม และเพศผู้เท่านั้นที่มีรอยสีส้มพิเศษบนหน้าผาก พวกมันอาจจะโปรดปรานใบอ่อนของต้นไม้เป็นพิเศษ นอกจากผลไม้ ใบไม้ และดอกไม้ ซึ่งเป็นอาหารหลักแล้ว พวกมันก็ชื่นชอบ แมลง สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก และนก อีกด้วย ถ้าหากว่าพวกมันสามารถจับได้สำเร็จ

ลีเมอร์หน้าแดง ชอบที่จะอยู่บนต้นไม้มากกว่าพื้นเบื้องล่าง ถึงแม้ว่าเปลือกไม้ที่เป็นอาหารนั้นจะอยู่ตามพื้นดินเท่านั้นและพวกมันก็ชอบพักผ่อนมากกว่า เมื่ออุณหภูมิขึ้นสูง ในยามเที่ยง ผิดกับลีเมอร์หนูที่จะวิ่งพล่านไปทั่วเพื่อรับอากาศสายสัมพันธ์ของลีเมอร์เพศผู้รุ่นใหญ่กับทายาทนั้นเป็นเรื่องน่าอัศจรรย์พวกมันใช้เวลาหลายชั่วโมงเพื่อทำความสะอาดลูก ถ้าหากว่าตัวแม่นั้นยินยอมเพราะในหมู่ลีเมอร์หน้าแดงเพศเมียจะเป็นใหญ่เหนือเพศผู้ซึ่งก็เช่นเดียวกับลีเมอร์กลุ่มอื่น

หากจะพูดถึงลีเมอร์ซิฟาก้าแล้วพวกมันเป็นสัตว์ที่สามารถปรับตัวให้ใช้ชีวิตได้โดยไม่ดื่มน้ำได้ซึ่งก็จะรับความชุ่มชื่นเพียงทางเดียวจากน้ำค้างทว่าลีเมอร์หน้าแดงไม่แกร่งเท่าพวกมันจะต้องดื่มน้ำอย่างน้อยทุกๆสองวันเพื่อให้มีชีวิตรอดแต่การไปดื่มน้ำนั้นก็ต้องแลกมากับการเสี่ยงที่มีราคาแสนแพง

เพราะในแม่น้ำ มานัมโบโล (Manambolo) ที่ไหลตัดผ่านบริเวณช่องเขาหินปูนจากตะวันออกไปตะวันตกยังคงมีจระเข้สัตว์เลื้อยคลานแสนดุร้ายที่ยังมีอยู่อีกมากแม้ว่าจะถูกล่าโดยประชากรท้องถิ่นมาเป็นเวลานานถึงจระเข้เหล่านี้จะมีขนาดไม่ใหญ่เท่าที่เคยเป็น แต่พวกมันก็ยังคงเป็นอันตรายอยู่ดี

ท่ามกลางความงดงามที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของป่าหินซิงกี้ ทุกฤดูกาลที่ผ่านไปในแต่ละปีฉากแห่งชีวิตที่มีผู้แสดงคือเหล่าลีเมอร์ทั้งหลาย \และสรรพสัตว์ที่ค้นพบได้เฉพาะในพื้นที่ของเกาะมาดากัสการ์ และหมู่เกาะโคโมรอสเท่านั้นก็ยังคงดำเนินไป ซึ่งก็คงจะไม่สามารถหาดูได้ง่ายนัก เนื่องจากการเป็นพื้นที่ที่ยากต่อการเข้าถึงของมนุษย์ติ

(543)

ใส่ความเห็น