พริก

พริก เป็นพืชในตระกูล Solanaceae ชื่อภาษาอังกฤษว่า Chilli peppers, chili, chile หรือ chilli มาจากคำภาษาสเปน ว่า chile โดยส่วนมากแล้ว ชื่อเหล่านี้มักหมายถึง พริกที่มีขนาดเล็ก ส่วนพริกขนาดใหญ่ที่มีรสอ่อนกว่าจะเรียกว่า Bell Pepper พริกชนิดต่างๆ มีต้นกำเนิดมาจากทวีปอเมริกา ซึ่งในปัจจุบันนี้ได้มีปลูกกันในหลายประเทศทั่วโลก เพราะพริกเป็นเครื่องเทศที่สำคัญชื่อหนึ่ง และยังมีคุณสมบัติเป็นยาสมุนไพรด้วยเช่นกัน

พริกมีวิตามินซี สูง เป็นแหล่งของกรด ascorbic ซึ่งสารเหล่านี้ ช่วยขยายเส้นโลหิตในลำไส้และกระเพาะอาหารเพื่อให้ดูดซึมอาหารดีขึ้น ช่วยร่างกายขับถ่าย ของเสียและนำธาตุอาหารไปยังเนื้อเยื่อของร่างกาย (tissue) สำหรับพริกขี้หนูสดและพริกชี้ฟ้าของไทย มีปริมาณวิตามิน ซี 87.0 – 90 มิลลิกรัม / 100 g นอกจากนี้พริกยังมีสารเบต้า

พริกยังมีสารสำคัญอีก 2 ชนิด ได้แก่ Capsaicin และ Oleoresinโดยเฉพาะสาร Capsaicin ที่ นำมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร และผลิตภัณฑ์รักษาโรค ในอเมริกามีผลิตภัณฑ์จำหน่ายในชื่อ Cayenne สำหรับฆ่าเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร สาร Capsaicin ยังมีคุณสมบัติทำให้เกิดรสเผ็ด ลดความเจ็บปวดของกล้ามเนื้อ หัวไหล่ แขน บั้นเอว และส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และมีผลิตภัณฑ์จำหน่ายทั้งชนิดเป็นโลชั่นและครีม ( Thaxtra – P Capsaicin) แต่การใช้ในปริมาณที่มากเกินไป อาจมีผลกระทบต่ออาการหยุดชะงักการทำงานของกล้ามเนื้อได้เช่นกัน เพื่อความปลอดภัย USFDA ได้กำหนดให้ใช้สาร capsaicin ได้ ที่ความเข้มข้น 0.75 % สำหรับเป็นยารักษาโรค

  doxzilla  

Allen Van Deynze ผู้อำนวยการของ Seed Biotechnology Center ของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียเดวิส ทำงานเกี่ยวกับพริกมากว่า 20 ปี เขาได้ศึกษาข้อมูลทางพันธุกรรมว่าส่วนใดเป็นตัวกำหนดความเผ็นร้อน เป็นที่ทราบกันดีว่าความเผ็ดร้อนนั้นมาจากการสะสมของ capsaicinoids ส่วนใหญ่จะอยู่ในบริเวณเยื่อแกนกลางสีขาว หรือเรียกว่า “รก” แต่ไม่ทราบอย่างแน่ชัดว่าตัวใดส่งผลกับระดับความเผ็นร้อนของพริก

ทีมวิจัยได้ศึกษายีนเรียกว่า capsaicin synthase ซึ่งจะมีการแบ่งเป็นสองทาง ทางหนึ่งขึ้นอยู่กับกรดไขมัน อีกทางหนึ่งเป็นตัวกำหนดรสชาติ กลิ่น สี ซึ่งจะอยู่บริเวณแกนที่มีสีขาว ซึ่งหากจะพัฒนาระดับความเผ็ดของพริกนั้นต้องพัฒนายีนที่อยู่บริเวณนี้

(213)

ใส่ความเห็น