โลกอันเร้นลับของพืช

บนผืนพิภพแห่งนี้ มีสิ่งมีชีวิตที่แบ่งแยกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆนั่นก็คือสัตว์และพืชซึ่งมนุษย์เรา
นั้นทราบดีอยู่ว่าพืชนั้นเป็นสิ่งมีชีวิต แต่มนุษย์รู้จักกับสิ่งมีชีวิตชนิดนี้มาก น้อยแค่ไหน ? การ
ผจญภัยในครั้งนี้จะสำรวจเข้าไปในอาณาจักรที่ซุกซ่อนจากสายตาของมนุษย์มานานแสนนาน
ซึ่งก็ได้แก่“โลกอันเร้นลับของพืช”พืชเกือบทุกชนิดบนโลกอยู่ในตำแหน่งบนสุดของห่วงโซ่
อาหาร พวกมันคือผู้ให้ที่เป็นดังแหล่งอาหารอันโอชะของสรรพสัตว์
ด้วยความสามารถในการสังเคราะห์แสง ซึ่งเป็นกระบวนการที่เป็นความสามารถเฉพาะตัวของเหล่าพืช ที่ไม่มีสัตว์
ชนิดใดทำได้กระบวนการสังเคราะห์แสงนั้นเกิดขึ้นที่ใบไม้ที่เปรียบได้กับโรงงานผลิตอาหาร ซึ่งอาศัยก็เพียงพลังงาน
จากแสงอาทิตย์ ประกอบกับวัตถุดิบง่ายๆ เพียงไม่กี่ชนิด – อากาศ, น้ำ และแร่ธาตุบางชนิดเท่านั้นเองอากาศจะ
ซึมผ่านเข้าไปในใบไม้ ผ่านรูเล็กๆ บนผิวใบ กระจายไปจนถึงเม็ดเล็กๆ ที่มีสารสีเขียว หรือ คลอโรฟีล ซึ่งเป็นกุญแจ
สำคัญที่นำพลังงานจากแสงอาทิตย์มาใช้ในการผสมผสานคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbondioxide) กับ ไฮโดรเจน
(Hydrogen) และผลิตคาร์โบไฮเดรต,น้ำตาล และแป้งออกมา

และด้วยกระบวนการดังกล่าวที่ต้องอาศัยแสงอาทิตย์ พืชทุกชนิดใช่ว่าจะมีโอกาสชูยอดของมันขึ้นไปเพื่อให้ใบได้
แสงแดด ดังนั้นพืชบางชนิดจึงมีกลยุทธ์พิเศษที่ได้นำมาใช้ อาทิเช่นต้นเบโกเนีย(Begonia)ที่ใช้ชีวิตในพื้นที่ป่าอัน
มืดสลัว แต่มันก็สามารถมีชีวิตรอดอยู่ได้ เคล็ดลับของมันนั่นหรือ ? ก็ “ใบ”ของมันนั่นเอง ใบของเบโกเนียมีสีแดง
อยู่ด้านล่าง ซึ่งก็หมายถึงการที่แสงส่องลงมาต้องกับผิวใบ และลอดผ่านใบไปก็จะไม่สูญหาย แต่จะสะท้อนกลับไป
ที่ลำต้นอีกทีหนึ่ง

แต่เบโกเนียอีกสายพันธุ์หนึ่ง กลับมีเคล็ดลับที่แตกต่างออกไป พวกมันมีจุดเล็กๆ ที่โปร่งใสอยู่บนใบไม้และทำหน้าที่
เป็นเลนส์ขนาดจิ๋ว รวบรวมแสงพุ่งตรงไปที่คลอโรฟีลภายในหากทว่า พืชยังต้องอาศัยปัจจัยอื่นๆ ในการสร้างอาหาร
น้ำก็เป็นส่วนประกอบอันสำคัญอีกอย่างหนึ่งพืชมีระบบที่ออกแบบมาเพื่อรองรับกระบวนการนี้ได้เป็นอย่างดี ซึ่งก็
ได้แก่ระบบรากและท่อลำเลียงภายใน

อย่างเช่น ต้นมะเดื่อที่มีความสูงถึง 21 เมตร การที่จะสูบน้ำขึ้นมายังที่สูงขนาดนี้เพื่อนำน้ำที่รากดูดซึมมาส่งผ่านไป
ยังยอดไม้ ก็อาจจะเกิดปัญหาสำคัญ เพราะการจะพ่นน้ำสูงขึ้นมากลางอากาศถึง 21 เมตรก็คงจำเป็นต้องใช้เครื่อง
ยนต์ขนาดใหญ่ที่มีเสียงดัง แต่ต้นมะเดื่อนี้กลับสูบน้ำขึ้นมาถึง 100 แกลลอนทุกชั่วโมงได้เงียบกริบอย่างน่าพิศวง
ใบไม้ของพืชแต่ละชนิดก็ถูกออกแบบโดยธรรมชาติ เพื่อการป้องกันตัวจากอันตรายต่างๆ พืชไม่สามารถเคลื่อนย้าย
ตัวเองในทันทีทันใดเพื่อหลบหนีอันตรายได้ แต่กลไกพิเศษบางอย่างนั้นก็ถูกรังสรรค์ขึ้นมาและทำงานได้ดีอย่างน่า
อัศจรรย์ใจใบของพืชที่เติบโตในป่าฝนเขตร้อน จะต้องมีความทนทานต่อแรงกระแทกของน้ำฝนที่พร่างลงมาอย่าง
หนักหน่วง มีร่องและมีปลายใบแหลม เพื่อให้แน่ใจว่า น้ำจะไหลออกจากใบอย่างรวดเร็วทั้งนี้จะได้ไม่เป็นการรบกวน
การดูดซึมอากาศผ่านรูเล็กๆ บนใบ และก็คงจะเป็นเพราะว่า ใบไม้นั้นไม่สามารถดูดซับน้ำโดยตรงได้พืชบางชนิดก็
จะมีขนดกหนา เพื่อป้องกันให้รูเล็กๆ บนใบนั้นปลอดโปร่ง นอกจากนี้แล้วพืชยังต้องคอยต่อสู้กับการดำรงชีวิตรอด
จากศัตรูอีกมากมายที่เห็นใบไม้นานาชนิดเป็นอาหารอันโอชะ อาทิเช่นเจ้าหนอนตัวจิ๋ว,ลิง, ยีราฟ, กระต่ายหรือ
แม้แต่เต่า

ต้นอะคาเซีย ในทุ่งหญ้าแห่งแอฟริกา จะมีรูปทรงคล้ายร่ม ที่แผ่กว้างออกและเต็มไปด้วยเกราะหนามแหลม เพื่อป้อง
กันสัตว์ที่มีคอยาว และมีผิวหนังที่หนาจนหนามที่แหลมที่สุดก็ยังทิ่มแทงเข้าไปไม่ได้ง่ายๆ กลไกอันชาญฉลาดก็คือ
รูปทรงที่คล้ายร่มนี้จะสามารถป้องกันการและเล็มยอดไม้ของยีราฟได้ แต่ส่วนยอดไม้ตรงกลางนั้นจะไม่มีหนามเลย
แม้แต่น้อย ซึ่งก็ทำให้ต้นอะคาเซียสามารถรักษาพลังงานอันล้ำค่าไว้ได้ ไม่ต้องเสียไปอย่างมากมายกับชุดเกราะหนาม

  doxzilla  

บางครั้งกลไกการป้องกันตัวของพืชก็ต้องอาศัยชุดเกราะที่แหลมคมเช่นกัน พืชที่เรารู้จักกันดีในนามว่า “ต้นตำแย
หรือ เนตเติ้ล (Nettles)” นั้นก็มีหนามแหลมคมที่คอยทิ่มแทงซึ่งหนามแหลมนี้ก็เป็นอาวุธที่ซับซ้อนเสียด้วยหนาม
นั้นจะเป็นขนกลวงๆ ที่ทำจาก ซิลิก้า (แร่ธาตุที่เรานำไปทำเป็นกระจก) ซึ่งอุดมไปด้วยพิษร้าย ปลายที่แหลมจนแตะ
เพียงนิดเดียวก็บาดได้ อีกทั้งยังเปราะบางจนหักแม้สัมผัสเพียงแผ่วเบา และปล่อยพิษเข้าไปในบาดแผล ผลที่
ออกมานั้นคือ อาการบวมและปวด

แต่พืชบางชนิดก็อาศัยการเลียนแบบเพื่อการเอาตัวรอด อย่างเช่นดอกเสาวรส (Passion) ที่มักจะถูกผีเสื้อเฮลิคอ
เนียส (Heliconias) คอยรบกวนอยู่เสมอเนื่องจากใบของมันเป็นอาหารโปรดของ หนอนผีเสื้อดังนั้นผีเสื้อเพศเมีย
จึงมักจะวางไข่บนใบของต้นนี้ เมื่อลูกของมันฟักออกมาก็จะพบอาหารโปรดอยู่ตรงหน้าทันที แต่ผีเสื้อจะไม่วางไข่ที่
มีลักษณะเป็นทรงกลมสีเหลือง ไว้หากพบว่ามีไข่ที่วางไว้อยู่ก่อนแล้ว เพราะหนอนผีเสื้อจะต้องการอาหารจำนวน
มาก พวกมันคงไม่ต้องการแบ่งหรือแก่งแย่งกับตัวอื่นๆ แต่ถ้าหากลองดูให้ดีจุดสีเหลืองเล็กๆนั้นอาจจะไม่ใช่ไข่ของ
หนอนผีเสื้อก็เป็นได้ มันอาจจะเป็นจุดสีเหลืองที่ต้นเสาวรสสร้างขึ้น โดยการลอกเลียนแบบเพื่อป้องกันตัวเอง

หากแต่พืชบางชนิดก็มีวิธีที่ตรงไปตรงมามากกว่านี้ อย่างเช่น ต้นเฟิร์นแบรคเคน (Bracken) ใบของมันนั้นประกอบ
ไปด้วยสารพิษที่รุนแรง จนสัตว์ที่กินเข้าไปอาจจะตาบอดหรือเป็นมะเร็งได้

การมีหนามแหลม, เหล็กใน หรือกระทั่งยางไม้พิษ ก็เป็นกลไกการป้องกันตัวที่น่าทึ่งอยู่แล้ว แต่พืช “มิโมซา(Mimosa)”
ซึ่งเป็นไม้ตระกูลไมยราบ ที่พบได้ทั่วไปตามข้างถนนของเขตร้อน ก็ยังมีกลไกที่พิสดารและน่าประทับใจยิ่งกว่า การ
สัมผัสต้นไม้ชนิดนี้ มันก็จะม้วนใบ หากสัมผัสอีกครั้ง มันก็จะหลุบลงพื้น

แต่ก็มีพืชที่อาศัยการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว สร้างประโยชน์ให้ตนเองจนสามารถพลิกบทบาทจากฝ่ายรับมาเป็น
ฝ่ายรุกบ้าง – พวกมันเติบโตในป่าสนที่ชื้นแฉะของรัฐ นอร์ธ แคโรไลน่า ในอเมริกา สัตว์จะไม่กินมัน แต่พวกมันกิน
สัตว์ นั่นก็คือ ต้นกาบหอยแครง (Venus’s Flytrap)

นอกจากนี้ยังมีพืชกินเนื้อชนิดอื่นๆ ที่ได้อาศัยกลไกแห่งการวิวัฒนาการ เพื่อการดำรงชีวิตขึ้นมาซึ่งก็มี ต้นหม้อข้าว
หม้อแกงลิง (Trumpet Pitchers), ต้นเนเพนเทส ราชา (Nepenthes Rajah) ซึ่งเป็นพืชตระกูล
หม้อข้าวหม้อแกงลิงที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ที่เติบโตอยู่บนเกาะบอร์เนียว

(400)

ใส่ความเห็น