หิมะสีชมพูในอาร์กติกอาจทำให้น้ำแข็งละลายเร็วขึ้น

งานวิจัยใหม่ที่ถูกดีพิมพ์ในวารสาร Nature โดย Stefanie Lutz จาก German Research Centre เผยให้เห็นว่า หิมะสีชมพูในอาร์กติกซึ่งเป็นพื้นที่ในบริเวณขั้วโลกเหนือนั้นอาจทำให้น้ำแข็งละลายเร็วขึ้น โดยหิมะสีชมพูนี้เกิดจากสาหร่ายนั้นมีความสามารถในการสะท้อนแสงของพื้นผิว เป็นตัวเร่งให้น้ำแข็งละลายเร็วขึ้น

หิมะสีชมพูเกิดจากสาหร่ายที่มีชื่อว่า Chlamydomonas nivalis เติบโตได้ในที่อากาศหนาวจัดที่อุณหภูมิต่ำกว่า -10 องศาเซลเซียส สามารถพบหิมะสีแดงแบบนี้ได้ที่ทือกเขาแอลป์ที่ระดับความสูง 10,000 – 12,000 ฟุต หรือราว 3,000-3,600 เมตร ในช่วงฤดูร้อน

สำหรับรูปแบบของหิมะสีชมพูนั้นถูกบันทึกครั้งแรกโดย  อริสโตเติล ในปี 1818

หิมะ เป็นรูปหนึ่งของการตกลงมาของน้ำจากบรรยากาศ อยู่ในรูปของผลึกน้ำแข็งจำนวนมากเรียก เกล็ดหิมะ จับตัวรวมกันเป็นก้อน ดังนั้นหิมะจึงมีเนื้อที่หยาบเป็นเกล็ด และมีโครงสร้างที่กลวงจึงมีความนุ่มเมื่อสัมผัส

  doxzilla  

(2520)