10 รูปแบบลักษณะทางธรรมชาติ แต่แลเหมือนมนุษย์สร้างขึ้นมา

ลักษณะทางธรณีวิทยาจำนวนมากมีรูปร่างหน้าตาที่แปลกประหลาด วันนี้สำรวจโลกจะพาทุกท่านไปพบกับ  10 รูปแบบลักษณะทางธรรมชาติ แต่แลเหมือนมนุษย์สร้างขึ้นมา แต่แท้จริงแล้วสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ

The Wave ตั้งอยู่ภายใน Vermilion Cliffs National Monument รัฐแอริโซนา ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นภูเขาหินทรายที่มีลักษณะคล้ายคลื่นลาดชัน เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 190 ล้านปีก่อน ถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมใน รัฐแอริโซนา

The Eye of the Sahara หรือ ดวงตาแห่งซาฮาร่า ตั้งอยู่ในทะเลทรายซาฮาราของ มอริเตเนีย จะพบกับโครงสร้างของชั้นหินที่เรียงตัวกัน มันถูกล้อมรอบด้วยทะเลทรายที่ดูคล้ายกับรูปดวงตา มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 50 กิโลเมตร หลายคนเชื่อกันว่ามันเป็นผลมาจากอุกาบาตที่ตกลงมาบนโลก แต่ยังเป็นข้อสงสัยของนักธรณีวิทยาว่ามันเกิดจากการยกตัวและการกร่อนของหิน

Wave Rock เป็นหินที่ตั้งอยู่ในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย ประเทศออสเตรเลีย เป็นหินที่คาดว่ามีอายุราว 2,700 ล้านปี และถือเป็นหนึ่งในหินที่เก่าแก่ที่สุด ของออสเตรเลีย ลักษณะของหินบริเวณนี้จะมีลักษณะคล้ายกับคลื่นในทะเล และมีสีสันที่สวยงาม

Sphinx of Balochistan เป็นรูปแบบของหินที่ตั้งอยู่ภายใน Hingol National Park ซึ่งเป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ภายในประเทศปากีสถาน ลักษณะที่โดนเด่นคือภูเขาที่ถูกลมและฝนกัดเซาะมาเป็นเวลานานจนมีลักษณะคล้ายกับมหาสฟิงซ์ในประเทศอียิปต์

Heart Rock เป็นแอ่งหินที่ตั้งยู่ในพื้นที่ Valley of Enchantment รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา หินบริเวณนี้ที่โดดเด่นคือแอ่งหินที่มีลักษณะเป็นรูปหัวใจ เกิดจากการกัดเซาะทางธรรมชาติ จนกลายเป็นแอ่งหัวใจเสมือนมีมนุษย์สร้างขึ้นมา (Photo: Brian/flickr)

  doxzilla  

แท่งหินภายใน Bryce Canyon National Park ตั้งอยู่ในทิศตะวันตกเฉียงใต้ของรัฐยูทาห์ สหรัฐอเมริกา ถือเป็นอุทยานที่เก่าแก่มากที่สุดแห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 1928 ภายในอุทยานเต็มไปด้วยแท่งหินจำนวนมากซึ่งเป็นโครงสร้างทางธรณีวิทยาที่เรียกว่า hoodoos โดยเกิดมาจากการกัดเซาะ และการพังทลายที่มาจากกระแสน้ำ

แคปพาโดเชียภูมิภาคตอนกลางของประเทศตุรกี มีลักษณะทางธรณีสัณฐานที่เกิดจากการทับถมของหินที่มาจากทะเลสาบและลำธาร และจากการทับถมของวัตถุต่างๆ ที่ระเบิดจากภูเขาไฟเมื่อราว 9 ถึง 3 ล้านปีที่ผ่านมา หินเหล่านี้ถูกกัดกร่อนจากธรรมชาติรายเป็นรูปทรงคล้ายแท่งหรือหอที่มีปลายแหลมบนยอดคล้ายเห็ดอันดูแปลกตา นอกจากนี้ผู้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณแคปพาโดเชียใช้ในการขุดคว้านเป็นบ้านเรือน

Moeraki Boulders เป็นกลุ่มก้อนหินที่วางอยู่ในบริเวณชายหาด Koekohe ทางตอนใต้ของนิวซีแลนด์ ทรงกลมขนาดใหญ่นี้มีขนาดตั้งแต่ 0.5-2.2 เมตร เกิดจากคลื่นที่กัดเซาะผาหินชายฝั่ง ถล่มลงบนชายหาด และถูกคลื่นกัดเซาะเป็นเวลานาน

Pamukkale ตั้งอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศตุรกี บริเวณภูเขาแห่งนี้เป็นที่ตั้งของลานแคลเซียม ที่มีขนาด กว้าง 300 เมตร ยาว 2,600 เมตร สูง 160 เมตร ลักษณะพิเศษคือจะประกอบไปด้วยแอ่งน้ำรูปแบบที่แต่งต่างกันเป็นจำนวนมาก เสมือนมนุษย์สร้างขึ้นมา และน้ำแร่ภายในแอ่งนี้มีอุณหภูมิประมาณ 33-35.5 องศาเซลเซียส ประชาชนจึงนิยมไปอาบหรือนำมาดื่ม เพราะเชื่อว่ามีคุณสมบัติในการรักษาโรค

The Queen’s Head เป็นหินที่มีลักษณะคล้ายกับผู้หญิงสวมมงกุฎจึงเป็นที่มาของชื่อ หินแท่งนี้ตั้งอยู่ภายใน Yehliu ซึ่งเป็นพื้นที่แหลมที่ยื่นออกไปในทะเล มีโขดหินรูปทรงต่าง ๆ อยู่เป็นจำนวนมาก ที่เกิดจากการกัดเซาะโดยธรรมชาติ นักธรณีวิทยาเผยหินแท่งนี้ถูกกัดเซาะไปราว 1.5 เซนติเมตรต่อปี และคาดว่าจะอยู่ให้นักท่องเที่ยวได้ชมกันเป็นเวลาประมาณ 10 ปี ก่อนจะเปลี่ยนรูปร่างไป

(1943)