พระราชวังแวร์ซาย สถานที่ที่เต็มไปด้วยเรื่องราวประวัติศาสตร์

พระราชวังแวร์ซาย เป็นพระราชวังหลวงแห่งหนึ่งของประเทศฝรั่งเศส ตั้งอยู่ที่แวร์ซาย ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของกรุงปารีส พระราชวังแวร์ซายเป็นพระราชวังที่ยิ่งใหญ่และสวยงามแห่งหนึ่งของโลก

เดิมเมืองแวร์ซายเป็นเพียงเมืองเล็ก ๆ แห่งหนึ่ง มีผู้คนอาศัยอยู่เบาบาง บริเวณส่วนใหญ่เป็นป่าเขาเยี่ยงชนบทอื่น ๆ ของฝรั่งเศส เมื่อพระเจ้าหลุยส์ที่ 13 แห่งฝรั่งเศส ยังทรงพระเยาว์ ขณะพระชนมายุได้ 23 พระชันษา ทรงนิยมล่าสัตว์ในป่า และทรงเห็นว่าตำบลแวร์ซายน่าจะเหมาะแก่การประทับเพื่อล่าสัตว์ จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระตำหนักขึ้นมาใน พ.ศ. 2167 โดยในช่วงแรกเป็นเพียงกระท่อมเล็กๆ สำหรับพักชั่วคราวเท่านั้น

เมื่อ พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส แห่งฝรั่งเศส ขึ้นครองบัลลังก์ มีประสงค์ที่จะสร้างพระราชวังแห่งใหม่ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการปกครองของพระองค์ จึงเริ่มปรับปรุงพระตำหนักเดิมในปี พ.ศ. 2204 ใช้เงินทั้งหมด 500,000,000 ฟรังก์ คนงาน 30,000 คน และใช้เวลาอยู่ถึง 30 ปีจึงแล้วเสร็จในพ.ศ. 2231 ทุกส่วนทำด้วยหินอ่อนสีขาว เป็นแบบอย่างศิลปกรรมที่งดงาม ภายในแบ่งออกเป็นห้องๆ เช่น ห้องบรรทม ห้องเสวย ห้องสำราญ ฯลฯ ทุกห้องล้วนมีเครื่องประดับงดงามตระการตาและภาพเขียนที่มีชื่อเสียง

  doxzilla  

การก่อสร้างพระราชวังแวร์ซายแห่งนี้ได้นำเงินมาจากค่าภาษีอากรของราษฎรชาวฝรั่งเศส ต่อมาในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศสได้มีกองทัพประชาชนและผู้ประท้วงบุกเข้าพระราชวังเพื่อตามหาพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส กับพระนางมารี อองตัวเนต จนเหล่าเชื้อพระวงศ์ต้องย้ายไปพำนักที่พระราชวังตุยเลอรีส์

ปัจจุบันพระราชวังแวร์ซายยังอยู่ในสภาพดีและเปิดให้ประชาชนเข้าชมได้ ภายในพระราชวังแวร์ซายมีทั้งหมด 700 ห้อง ภาพวาด 6,123 ภาพ และงานแกะสลักทั้งหมด 15,034 ชิ้น


[fbvideo link=”https://www.facebook.com/samrujlok/videos/10156104582297226/” width=”500″ height=”400″ onlyvideo=”1″]

สำรวจโลก จะพาออเจ้าทั้งหลายไปยังพระราชวังแวร์ซาย อันวิจิตรงดงามแห่งนี้ ซึ่งเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ที่คณะฑูตของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้ไปเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14

ติดตามชมสารคดีสุดพิเศษ พระราชวังแวร์ซาย ความยาว 3 ชั่วโมง เวลา 21.00 น. 30 มีนาคม – 1 เมษายน 2561 ได้ที่ NEW18 ที่เดียวเท่านั้น

ภาพวาด ขณะที่เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) เข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เมื่อ 333 ปีที่แล้ว http://bit.ly/2HOOEtb

(1849)