นักล่ายุคดึกดำบรรพ์

ในดินแดนที่ชาวสเปนเรียกขานว่า “เอล โดราโด้ (el dorado)” แห่งอเมริกาใต้ที่เมื่อหลายร้อยปีก่อน เป็นแหล่งรวมข่าวลือเกี่ยวกับอารยธรรมโบราณที่สาบสูญ และขุมทองคำที่ประมาณค่ามิได้ ตอนนี้นักสำรวจรุ่นใหม่เดินทางมายังสถานที่แห่งนี้เพื่อค้นหาสมบัติอีกชนิดหนึ่ง ที่จะช่วยเผยความลับของการวิวัฒนาการในโลกที่สูญสิ้นไปเมื่อหลายล้านปีก่อนย้อนกลับไปในยุคดึกดำบรรพ์ ก่อนหน้าการถือกำเนิดของมนุษย์

มีสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งที่ได้ยึดครองผืนพิภพแห่งนี้ และได้ปกครองอาณาจักรของพวกมันไว้ยาวนานถึง 160 ล้านปีพวกมันคือสัตว์เลื้อยคลานรูปร่างใหญ่ยักษ์ที่พวกเราขนานนามให้ว่า “ไดโนเสาร์ (Dinosaur)”บริเวณเทือกเขาแอนดีส ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ อาร์เจนตินา เป็นที่ตั้งของภูมิประเทศที่คล้ายกับพื้นผิวของดวงจันทร์ ที่มีความยาวถึง 80 กิโลเมตรและหนาถึง 270 เมตรสถานที่แห่งนี้ถูกเรียกว่า “หุบเหวแห่งดวงจันทร์ (Valley of TheMoon)” ซึ่งมีอายุถึง 250 ล้านปี (เมื่อครั้งที่ไดโนเสาร์ปรากฏตัวขึ้นเป็นครั้งแรก)

ด้วยหน้าผาสีแดงเพลิงที่สูงถึงเกือบ 2 กิโลเมตรที่โอบล้อมอยู่โดยรอบ คงดูเหมือนจะเป็นที่สุดท้ายบนโลกสำหรับการค้นหาซากของชีวิตจากยุคดึกดำบรรพ์ แต่สำหรับนักล่าฟอสซิล ที่นี่คือ สวนสวรรค์อีเดน – จุดเริ่มต้นของทุกสิ่งทุกอย่างในปีคริสตศักราช 1918 มีการค้นพบเศษชิ้นส่วนมากมายของไดโนเสาร์ที่มีความเป็นไปได้ที่จะเป็นไดโนเสาร์ตัวแรก“เฮอเรราซอรัส (Herrerasaurus)” และก็มีการค้นพบกะโหลกและโครงกระดูกของมันเป็นครั้งแรก โดย พอล เซเรโน (Paul Sereno) แห่งมหาวิทยาลัย ชิคาโก

เมื่อนำตะกอนจากใต้ซากฟอสซิลของ เฮอเรราซอรัส ไปตรวจสอบหาอายุ ก็รู้ได้ว่า ซากของไดโนเสาร์ชนิดนี้มาจากยุค “ไทรแอสสิค (Triassic)” ซึ่งเป็นยุคแรกในสามยุคทางธรณีวิทยา ที่เริ่มต้นขึ้นเมื่อ 245 ล้านปีก่อน ยุคที่สองก็คือยุคจูราสสิค (Jurassic) ที่โด่งดัง ซึ่งกินเวลานาน 63 ล้านปี และยุคสุดท้ายก็คือ ยุคครีเตเชียส Cretaceous) ซึ่งได้จบลงเมื่อ 65 ล้านปีก่อน ทั้งสามยุคนี้ประกอบกันขึ้นเป็น “เมโซโซอิค (Mesozoic)” มหายุคของสัตว์เลื้อยคลาน

เฮอเรราซอรัส มีความยาวเท่ากับรถยนต์ มีน้ำหนักน้อยกว่าลูกม้าตัวเล็ก พวกมันเป็นนักกินเนื้อที่มีความรวดเร็วและว่องไวเป็นอย่างยิ่ง ขากรรไกรที่เรียงรายด้วยฟันที่แหลมคมโค้งไปด้านหลัง ซึ่งถูกออกแบบมาอย่างเหมาะสมในการงับลงไปบนร่างเหยื่อ และกระดูกขาก็เป็นอีกหนึ่งอาวุธลับที่ทำให้ไดโนเสาร์ชนิดนี้ประสบความสำเร็จในการเป็นนัก
ล่า และยึดครองโลกยุคไทรแอสสิคได้รวดเร็วราวกับพายุ

การที่ไดโนเสาร์ชนิดนี้สามารถเดินตัวตรงได้ด้วยสองเท้าหลัง ทำให้มันสามารถพัฒนามือในการจับ คว้า และมีกรงเล็บขนาดใหญ่ซึ่งก็เป็นอาวุธที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง รวมทั้งการมีข้อต่อขากรรไกรชนิดพิเศษที่ช่วยให้สามารถติดตามและงับร่างเหยื่อเป็นๆ ได้ ซึ่งส่งผลให้เฮอเรราซอรัสนั้นมีความเหนือชั้นกว่าไดโนเสาร์สายพันธุ์อื่นๆ ในรุ่นเดียวกันพวกมันอาจจะเป็นนักกินเนื้อชนิดแรก หากแต่ว่าไม่ใช่บรรพบุรุษของไดโนเสาร์ทุกชนิด

และแล้วทีมงานของ พอล เซเรโน ก็หวนกลับไปที่อาร์เจนตินาอีกครั้งหนึ่ง เพื่อการค้นหาสัตว์ที่มีความเก่าแก่ยิ่งกว่าซึ่งพวกเขาก็ทำได้สำเร็จ จากการค้นพบของลูกทีมที่ชื่อว่า ริคาร์โด มาร์ติเนซ (Ricardo Martinez)พวกเขาค้นพบโครงกระดูกที่เก่าแก่กว่า เฮอเรราซอรัส มาก มันถูกขนานนามว่า “อีโอแรพเตอร์ (Eoraptor)” ที่มีความหมายถึง“นักล่าตัวแรก” พวกมันเป็นสัตว์สองขากินเนื้อที่มีขนาดลำตัวประมาณ 1 เมตร มีกรงเล็บแหลมคมและมือแนบลำตัว นอกจากนี้พวกเขายังค้นพบกะโหลกของอีโอแรพเตอร์ ซึ่งสามารถบอกเล่าเรื่องราวได้มากมาย

 

<------------->

<------------->

 

กะโหลกคือ ศูนย์กลางในการกินอาหาร ซึ่งฟันที่ติดมาด้วยก็จะบ่งบอกได้ว่า เป็นฟันอันแหลมคมของนักกินเนื้อ หรือฟันของพวกกินพืช ต่อเนื่องไปจนถึงวิธีการกินอาหาร จึงทำให้เราได้ทราบว่า สัตว์ชนิดนี้ใช้อะไรสร้างพลัง จากการที่กะโหลกเป็นที่รวมของประสาททั้งหมด – การมองเห็น, การดมกลิ่น, การฟังเสียง รวมถึงวิธีการที่พวกมันมองสภาพแวดล้อมรอบตัว มันจึงเป็นชิ้นส่วนสำคัญต่อการศึกษาวิถีชีวิตของสัตว์เป็นอย่างมาก

แต่ในกรณีของอีโอแรพเตอร์ ไม่ใช่ว่ากะโหลกได้เผยให้เห็นอะไรเป็นพิเศษ หากแต่เป็นสิ่งที่ขาดหายไปต่างหาก นั่นก็คือ ข้อต่อยืดหยุ่นที่ขากรรไกร ซึ่งไดโนเสาร์นักล่าทุกชนิดจะต้องมี ซึ่งได้นำไปสู่คำถามที่ว่า เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น ? เซเรโน คิดว่า อีโอแรพเตอร์ ได้แยกมาจากตระกูลไดโนเสาร์ก่อนที่ลักษณะพิเศษดังกล่าวจะเกิดขึ้น หากเป็นเช่นนั้นจริง อีโอแรพเตอร์ ก็ต้องมีความเก่าแก่กว่า เฮอเรราซอรัส อย่างมากทีเดียว

ถ้าจะว่าไปแล้ว อีโอแรพเตอร์มีลักษณะโดยรวมใกล้เคียงกับบรรพบุรุษมากกว่า ขนาดที่สูงราว 1 เมตร และมีพฤติกรรมแบบนักล่า ซึ่งมนุษย์เราคิดว่า ไดโนเสาร์ตัวแรกน่าจะมีพฤติกรรมแบบนักล่าต่อมาในภายหลังบางชนิดจึงเปลี่ยนเป็นพวกกินพืช ดังนั้นอีโอแรพเตอร์จึงมีภาพที่คล้ายคลึงกับบรรพบุรุษไดโนเสาร์มากกว่าชนิดอื่นๆ ที่มนุษย์เราค้นพบ

แล้วในปีคริสตศักราช 1997 เพชฌฆาตหน้าใหม่ก็ถูกค้นพบในบริเวณหุบเหวแห่งดวงจันทร์ ใกล้กับเมือง ลา ริโอจา(La Rioja)มันคือ “ซูเพซอรัส (Zupaysaurus)” ที่มีขนาดกะโหลกยาวถึง 75 ซม.ซึ่งก็คำนวณได้ว่าพวกมันจะต้องสูงถึง 4.8 เมตร และเช่นเดียวกับบรรพบุรุษ พวกมันมีฟันที่โค้งไปด้านหลัง เพียงแต่พวกมันมีขนาดใหญ่ขึ้น

หากแต่ว่านักล่าจะต้องมีความรวดเร็ว และเพื่อไม่ให้การเพิ่มขนาดของร่างกายทำให้ต้องเชื่องช้าลง รูปร่างของซูเพซอรัสจึงมีการวิวัฒนาการไปโดยเกิดเป็นโพรงในกะโหลกของมัน ซึ่งเคยมีกระดูกแข็งที่ทอดลงไปตามโครงกระดูกจึงทำให้ร่างกายของซูเพซอรัสมีน้ำหนักเบาขึ้น เราอาจกล่าวได้ว่า สัตว์เหล่านี้เป็นดั่งเสือในยุคไทรแอสสิค

โดยทั้งนี้ซูเพซอรัสเป็นตัวเชื่อมที่สำคัญในสายแห่งวิวัฒนาการของไดโนเสาร์ซึ่งได้แสดงให้เห็นว่าในยุคไทรแอสสิคนักล่าบางชนิดเริ่มจะมีขนาดใหญ่ขึ้น รวดเร็วมากขึ้น และโหดร้ายมากขึ้น รวมไปถึง เจ้า “ไจแกนโนโทซอรัส(Giganotosaurus)” เพชฌฆาตร่างมหึมาที่มีขนาดใหญ่กว่าและมีน้ำหนักมากกว่า ไทแรนโนซอรัส เร็กซ์(Tyrannosaurus rex) เสียอีก

ซึ่งในปลายยุคครีเตเชียส ยังมีสัตว์อีกชนิดหนึ่งที่ไม่เพียงแต่มีขนาดใหญ่ขึ้น หากแต่ยังมีความเก่งกาจเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย แต่พื้นที่อเมริกาใต้นั้น มิได้มีเพียงไดโนเสาร์กินเนื้อเท่านั้น หากแต่ยังมีไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่ยักษ์ และยังมีสัตว์เลื้อยคลานที่บินได้จำพวก“เทโรซอร์ (Pterosaur)”หรือ“เทโรดัคติล(Pterodactyl)”อีกด้วยถ้าจะเปรียบไปแล้ว ที่แห่งนี้คือ สวนสวรรค์ของนักล่าในยุคดึกดำบรรพ์อย่างแท้จริง

(564)

ใส่ความเห็น