ชั้นไขมันที่หนาของวาฬเบลูกามีไว้เพื่ออะไร

วาฬเบลูกาตัวผู้จะมีความยาวลำตัวมากกว่าเมื่อเทียบกับตัวเมีย โดยตัวผู้ตัวเต็มวัยจะมีความยาวลำตัวเฉลี่ย 3.5-5.5 เมตร ส่วนตัวเมียมีความยาวลำตัวเฉลี่ย 3-4.1 เมตร น้ำหนักกว่า 1 ตัน สำหรับลูกวาฬแรกเกิดจะมีสีเทา และสีเทาจะค่อย ๆ จางลงจนกลายเป็นสีขาวในตัวเต็มวัย

วาฬเบลูกามีชั้นไขมันที่หนาประมาณ 15 เซนติเมตร ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 40 ของน้ำหนักตัวทั้งหมด ซึ่งชั้นไขมันจะทำหน้าที่เป็นฉนวนกันความเย็นของน้ำในช่วงอุณหภูมิ 0-18 องศาเซลเซียส เพื่อลดการสูญเสียความร้อนจากอุณหภูมิที่เย็น และเป็นแหล่งสะสมพลังงานสำรอง โดยนับเป็นชั้นไขมันที่หนาถึง 100 เท่าของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมด

าฬเบลูกา เป็นวาฬอีกชนิดหนึ่งที่ส่งเสียงร้องได้หลากหลายมาก จนได้ฉายาว่า “นกคานารีแห่งท้องทะเล” (Sea canary) ที่มีตั้งแต่เสียงผิวปาก มีระดับเสียงที่แตกต่างกันมากมาย

  doxzilla  

(3560)