นักวิทยาศาสตร์คิดค้นวิธีลดยุงตัวเมียที่เป็นสาเหตุของไข้มาลาเรีย

GM mosquitoes เป็นยุงที่ได้รับการพัฒนามาจากนักวิทยาศาสตร์อังกฤษ เป็นยุงที่ลดปริมาณของยุงตัวเมียจากการทดสอบกว่า 95 เปอร์เซ็นต์ของยุงที่ไข่ออกมาเป็นยุงตัวผู้ โดยจะช่วยลดจำนวนของยุงตัวเมียซึ่งเป็นยุงที่กินเลือดเป็นอาหาร และเป็นพาหะของโรคต่างๆ โดยเฉพาะไข้มาลาเรียที่คร่าชีวิตผู้คนนับล้านบนโลก

ยุง เป็นแมลงที่พบได้ทั่วโลกแต่พบมากในเขตร้อนและเขตอบอุ่น ยุงทั่วโลกมีอยู่ประมาณ 3,450 ชนิด ปัจจุบันนี้มีการคิดค้นเทคโนโลยี ยาฆ่าแมลง และอื่นๆอีกมากมาย เพื่อที่จะป้องกันยุง แต่ยุงก็มีการปรับตัวเพื่อที่จะสู้กับยาฆ่าแมลงเหล่านั้น จนทำให้นักวิทยาศาสตร์ในหลายสถาบันต้องคิดค้นหาวิธีที่จะลดปริมาณของยุง

  

สำหรับไข้มาลาเรีย หรือไข้จับสั่น เป็นโรคที่คร่าผู้คนนับล้านคนต่อปี โดยเฉพาะเด็กในทวีปแอฟริกา โรคมาลาเรียส่งผ่านโดยการกัดจากยุงเพศเมียในสกุล Anopheles (ยุงก้นปล่อง) ที่มีเชื้ออยู่ โดยยุงจะนำเชื้อ Plasmodium จากน้ำลายเข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิตของผู้ถูกกัด จากนั้นเชื้อในเลือดจะเดินทางไปยังตับเพื่อเจริญและสืบพันธุ์ โรคมาลาเรียก่อให้เกิดอาการทั่วไป ซึ่งรวมไข้และปวดศีรษะ ซึ่งในกรณีที่รุนแรงสามารถดำเนินไปเป็นโคม่าหรือเสียชีวิตได้

(1478)

ใส่ความเห็น