เนบิวลา คืออะไร

เนบิวล่าคือกลุ่มของก๊าซและฝุ่นผงที่รวมตัวกันอยู่ในอวกาศ เนบิวล่ามาจากภาษาลาติน แปลว่า “เมฆ”   เพราะเมื่อเราใช้กล้องโทรทรรศน์ส่องดู จะเห็นเป็นฝ้าขาวคล้ายกลุ่มเมฆ เนบิวล่าเป็นวัตถุหนึ่งในเอกภพที่มีความสำคัญมากๆ เพราะดาวฤกษ์หรือดาวเคราะห์ล้วนเกิดขึ้น มาจากเนบิวล่าทั้งสิ้น เนบิวล่าที่เราเห็นนั้นความจริงมีขนาดใหญ่โตมโหราฬมาก บ้างก็มีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 10 ปีแสง บ้างก็ใหญ่กว่าระบบสุริยะของเราถึง 10 เท่า

 

เนบิวลามี 2 ชนิดคือ เนบิวลาสะท้อนแสง (Reflection nebula)     เนบิวลาสะท้อนแสงเป็นเนบิวลาที่มีแสงสว่างเช่นเดียวกับเนบิวลาเปล่งแสง แต่แสงจากเนบิวลาชนิดนี้นั้น เกิดจากการกระเจิงแสงจากดาวฤกษ์ใกล้เคียงที่ไม่ร้อนมากพอที่จะทำให้เนบิวลานั้นเปล่งแสง กระบวนการดังกล่าวทำให้เนบิวลาชนิดนี้มีสีฟ้า องค์ประกอบหลักของเนบิวลาชนิดนี้ที่ทำหน้าที่กระเจิงแสงจากดาวฤกษ์คือฝุ่นระหว่างดาว (Interstellar dust)

 

และ เนบิวลาเปล่งแสง(Emission nebula) เนบิวลาเปล่งแสง จะเปล่งแสงในช่วงคลื่นที่เฉพาะตัวตามธาตุองค์ประกอบของเนบิวลา ทำให้มีสีต่างๆกัน และการวิเคราะหสปรักตัมของเนบิวลาชนิดนี้ จะพบว่าสเปกตรัมเป็นชนิดเส้นเปล่งแสง (Emission Lines) และสามารถวิเคราะห์ธาตุองค์ประกอบ หรือโมเลกุลที่เป็นส่วนประกอบของเนบิวลาได้อีกด้วย เนบิวลาชนิดนี้ ส่วนใหญ่จะมีสีแดงจากไฮโดรเจน และสีเขียวจากออกซิเจน บางครั้งอาจมีสีอื่นซึ่งเกิดจากอะตอม หรือโมเลกุลอื่นๆ ก็เป็นได้

 

ตัวอย่างเนบิวลา

เนบิวลาบูมเมอแรง เย็นที่สุดในเอกภพ

เนบิวลาบูเมอแรง (Boomerang Nebula) จัดเป็นสถานที่อันเย็นจัดที่สุดในเอกภพ โดยมีอุณหภูมิเพียง 1 เคลวินหรือ -272.2 องศาเซลเซียส นับเป็นอุณหภูมิที่ต่ำกว่าอุณหภูมิเฉลี่ยในอวกาศ ซึ่งไซน์เดลีระบุว่า นักวิทยาศาสตร์ได้ใช้กล้องโทรทรรศน์วิทยุอัลมา) ที่ชิลี ศึกษาเนบิวลาดังกล่าว เพื่อวิเคราะห์คุณสมบัติอันเย็นจัดและประเมินรูปร่างที่แท้จริงของเนบิวลานี้ และพบว่ารูปร่างจริงดูหลอนเหมือนผี   เนบิวลาบูเมอแรงนั้นอยู่ห่างจากโลก 5,000 ปีแสง ในกลุ่มดาวคนครึ่งม้า (Centaurus) และค่อนข้างเป็นเนบิวลาดาวเคราะห์ (planetary nebula) ที่มีอายุน้อย

 

เนบิวลาโลมา Dolphin Nebula

SH2-188 ตั้งอยู่ในบริเวณกลุ่มดาวแคสสิโอเปีย อยู่ห่างจากโลก 850 ปีแสงจากโลก ในอดีตนักวิทยาศาสตร์คิดว่าเนบิวลาโลมาเป็นเพียงส่วนมี่เหลือของการ supernova ที่ปรากฏในปี 1965 แต่ได้รับการยืนยันว่าเป็นเนบิวลาดาวเคราะห์ที่มีรูปร่างคล้ายพระจัทร์เสี้ยวในเวลาต่อมา วิเคราะห์กันว่ารูปร่างอันแปลกประหลาดของเนบิวลานี้มาจากการเคลื่อนที่ของเนบิวลาที่เร็วกว่าปกติ ที่ 125 กิโลเมตรต่อวินาที หรือ 280,000 ไมล์ต่อชั่วโมง

 

 เนบิวลาหัวแม่มด 

ตั้งอยู่ในกลุ่มดาว Eridanus ห่างไกลจากโลกถึง 900 ปีแสง และโดยธรรมชาติของอนุภาคฝุ่น สะท้อนแสงสีน้ำเงินได้ดีกว่าสีแดง จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ “เนบิวลา” ส่องแสงสีน้ำเงินได้ดีครับ  การใช้คลื่นวิทยุแสดงให้เห็นว่า เนบิวลานี้แผ่องค์ประกอบของธาตุคาร์บอน มอนอกไซด์ ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของเมฆหมอก และส่วนสำคัญของเนบิวลานี้

 

 เนบิวลาบึ้ง หรือ เนบิวลาทารันทูลา (NGC 2070)

มีค่าความส่องสว่างปรากฏเท่ากับ 8 เมื่อคำนึงถึงระยะห่างของมันที่อยู่ห่างออกไปถึง 180,000 ปีแสง ถือได้ว่าเป็นวัตถุที่มีความสว่างสูงมาก มันส่องสว่างมากเสียจนถ้าหากมันอยู่ใกล้โลกในระยะเดียวกับเนบิวลานายพรานก็อาจทำให้เกิดเงาแสงขึ้นได้ทีเดียว ซูเปอร์โนวาที่ใกล้ที่สุดเท่าที่ตรวจพบหลังจากการประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์ คือ ซูเปอร์โนวา 1987A ก็เกิดขึ้นที่บริเวณขอบของเนบิวลาบึ้งแห่งนี้

 

เนบิวลานายพราน (Messier 42)

เป็นเนบิวลาที่รู้จักกันกว้างขวางและง่ายต่อการศึกษามาที่สุดเนบิวลาหนึ่ง ด้วยเป็นพื้นที่ที่อยู่ใกล้โลก M42 ประกอบไปด้วยกลุ่มก๊าซขนาดใหญ่และดวงดาวจำนวนมาก สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า อยู่ห่างจากโลก 1,350 ปีแสง (ข้อมูลล่าสุด) นักดาราศาสตร์ได้ใช้กล้องโทรทัศน์ขนาดกว่า 2.2 เมตรในชิลีสำรวจพบว่า แสงจากดวงแคระแดงที่เห็นอยู่ในภาพมีความสัมพันธ์กับรังสีจากกลุ่มแก๊ซในเนบิวลาและส่งผลให้ดาวมีสีแดงมากกว่าที่คิด

 

ดาราจักรคนครึ่งม้า หนึ่งในดาราจักรที่อยู่ใกล้โลกที่สุด

ด้วยระยะทางจากโลก 11 ปีแสง ดาราจักรค้นครึ่งม้า (Centaurus A) มีหลุมดำขนาดใหญ่อยู่ตรงกลาง คาการณ์ว่าหลุมดำนี้มีมวลประมาณ 55 ล้านโซลาห์มาส และปลดปล่อย Relativistic Jet รังสี X-ray และคลื่นวิทยุจำนวนมหาศาลออกมา รวมเข้ากับแก๊สและกลุ่มฝุ่นต่างๆกลายเป็นทางพลังงานระดับสูงพุ่งออกมาทั้ง 2 ด้านของดาราจักร รวมความยาวมากกว่า 100 ล้านปีแสง แน่นอนว่ามีดาวต่างๆกำลังก่อกำเนิดขึ้นภายใน

 

 

(6029)