กระดานชนวนโบราณ

กระดานชนวน มีหน้าตาคล้าย ipad ในปัจจุบัน มีใช้ในประเทศไทยเมื่อ 50 ปีที่แล้วทำจากหินบางๆ หนาเพียง 2-3 มิลลิเมตร กรอบแตกง่าย เวลาเขียนต้องใช้ดินสอหินฝนปลายให้แหลมก่อน ต่อมาใช้ชอล์กแทนใช้ผ้าชุบน้ำแทนยางลบกระดานชนวนเขียนได้ครั้งละ 2 หน้า การบ้านจึงมีแค่ 2 หน้าพอหมดหน้าก็ให้ครูตรวจแล้วลบทิ้งทำใหม่

ในกรุงเทพฯ น่าจะเลิกใช้กระดานชนวนก่อนปี พ.ศ. 2504 ส่วนในต่างจังหวัด มีการยืนยันว่าคนที่เกิดปี พ.ศ.2508 ยังได้ใช้กระดานชนวนอยู่ ตอนเรียน ป.1-3 ดังนั้นกระดานชนวนน่าจะเลิกใช้จากประเทศไทยประมาณปี 2516

พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย) ได้อธิบายไว้ว่า กระดานที่ใช้เขียน มีสองอย่าง สำหรับ นักเรียนชั้นแรกหัดเขียน ก ข เรียกว่า กระดานดำ ทำด้วยไม้กระดานกว้างประมาณ ๑ คืบ ยาวประมาณ ๒-๓ ศอก หนาราว ๒ กระเบียด ด้านที่ใช้เขียนหนังสือ ไสกบ จนเกลี้ยงเรียบ ทาด้วย เขม่าหม้อ กับน้ำข้าว ผึ่งแดดให้แห้ง เมื่อจะลบตัวหนังสือ ที่เขียนด้วยดินสอขาว ใช้น้ำลบทำให้ กระดานเปียก ฉะนั้นจึงต้องหยุด ตากกระดาน ให้แห้งเสียก่อน แล้วจึงเรียนต่อไป

 

<------------->

 

 

<------------->

 

กระดานชนวนอีกชนิดหนึ่งไว้สำหรับนักเรียนชั้น ๓ ทำด้วยไม้ทองหลางหรือไม้งิ้ว โดยทำให้เป็นแผ่นกระดาน กว้างศอก ยาวศอกคืบ แล้วก็มีกรอบ ดินสอที่ใช้เขียนกับกระชนวน ใช้ดินสอพอง คือเอาดินสอพองแช่น้ำให้เปียก


กระดานดำในปัจจุบัน เป็นอุปกรณ์ในการเขียนที่สามารถใช้ซ้ำได้ โดยสามารถเขียนอักษรหรือวาดภาพได้โดยใช้ชอล์ก หรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่สามารถเขียนแล้วลบได้ซึ่งมีต้นแบบมาจากกระดานชนวน

(8640)