ไตรภูมิพระร่วง

ไตรภูมิพระร่วง มีหลายชื่อเรียกได้แก่ “ไตรภูมิพระร่วง” “เตภูมิกถา” “ไตรภูมิกถา” “ไตรภูมิโลกวินิจฉัย” และ “เตภูมิโลกวินิจฉัย”เป็นวรรณคดีพุทธศาสนาที่แต่งในสมัยสุโขทัยประมาณ พ.ศ. 1888 โดยพระราชดำริในพระยาลิไท รวบรวมจากคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา มีเนื้อหาเกี่ยวกับโลกสัณฐาน ที่แบ่งเป็น 3 ส่วน หรือ ไตรภูมิ ได้แก่ กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิวรรณคดีเรื่องนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับ คติความเชื่อของชาวไทย เป็นจำนวนมาก เช่น นรก สวรรค์ การเวียนว่ายตายเกิด ทวีปทั้งสี่ (เช่น ชมพูทวีป ฯลฯ) ระยะเวลากัปป์กัลป์ กลียุค การล้างโลก พระศรีอาริย์ มหาจักรพรรดิราช แก้วเจ็ดประการ ฯลฯ

ไตรภูมิพระร่วง เป็นพระราชนิพนธ์ของพระมหาธรรมราชาลิไทซึ่งแต่งขึ้นเมื่อ วันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ ปีระกา ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 1864 (ปีเก่า) จ.ศ.683 ม.ศ.1243 เป็นปีครองราชย์ที่ 6 โดยมีพระประสงค์ที่จะเทศนาโปรดพระมารดา และเพื่อจำเริญพระอภิธรรม

 

<------------->

 

 

<------------->

 

ไตรภูมิพระร่วงเป็นหลักฐานชิ้นหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถอย่างลึกซึ้ง ในด้านพุทธศาสนาของพระมหาธรรมราชาลิไทที่ทรงรวบรวมข้อความต่างๆ ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา นับแต่พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา และปกรณ์พิเศษต่างๆ มาเรียบเรียงขึ้นเป็นวรรณคดีโลกศาสตร์เล่มแรกที่แต่งเป็นภาษาไทยเท่าทีมีหลักฐานอยู่ในปัจจุบันนี้

พระมหาธรรมราชาลิไทจึงได้คิดนิพนธ์วรรณกรรมทางศาสนาเรื่องไตรภูมิพระร่วงขึ้นมาเพื่อที่ต้องการสอนให้ประชาชนของพระองค์ทำความดี เพื่อจะได้ขึ้นสวรรค์มีชีวิตที่สุขสบาย และหากทำความชั่วก็จะต้องตกนรก ด้วยเหตุนี้วรรณกรรมเรื่องไตรภูมิจึงเป็นสิ่งที่ใช้ควบคุมทางสังคมได้เป็นอย่างดียิ่ง เพราะสามารถเข้าถึงจิตใจทุกคนได้โดยมิต้องมีออกกฎบังคับกันแต่อย่างไร

(1109)