โคมลอย

โคมลม ว่าวควัน หรือ ว่าวข้าวกล่อง ในบางท้องถิ่นเรียกโคมลอยเป็นว่าวชนิดหนึ่งเพราะโคมลอยทำมาจากกระดาษว่าว และมักนิยมเรียกโคมลอยชนิดที่ปล่อยในเวลากลางวันว่า ว่าวข้าวกล่อง เพราะมีรูปทรงสี่เหลี่ยมเวลาลอยอยู่บนท้องฟ้าเวลากลางวันมีลักษณะคล้ายกันกับ ข้าวกล่อง หรือ กล่องข้าว ที่คนสมัยก่อนนิยมใช้ใบตาลแห้งมาจักเป็นเส้นแล้วสานเป็นกล่องข้าวไว้สำหรับบรรจุข้าวเหนียวหรือข้าวที่นึ่งสุกเก็บไว้กินเพราะใบตาลมีลักษณะพิเศษที่ใบมีความมันวาวและลื่นไม่ติดกับข้าวเหนียว

โคมลอย มีชื่อเรียกในภาษาทางท้องถิ่นในภาคเหนือเรียกว่า โกมลอย ซึ่งคำว่า โกม เป็นภาษาท้องถิ่นของทางภาคเหนือตรงกับคำว่า โคมโกมไฟ หรือ ว่าวไฟ ใช้เป็นชื่อเรียกโคมลอยชนิดที่ปล่อยในเวลากลางคืน ที่เรียก ว่าวไฟ ว่าเป็น โคมลอย นั้นเรียกมาแต่สมัยหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อทหารไทยมาประจำการในล้านนาทางภาคเหนือ พอเห็น ว่าวฅวัน หรือ ว่าวไฟ ลอยขึ้นฟ้า ก็เรียกว่าสิ่งนั้นคือ โคมลอย
 

การลอยโคม เป็นประเพณีพื้นบ้านในวันเพ็ญเดือนสิบสอง ที่ชาวบ้านทางภาคเหนือและภาคอีสานนิยมทำกัน ถือเป็นการปล่อยเคราะห์ ปล่อยโศกและเรื่องร้ายๆต่างๆ ให้ไปพ้นจากตัว แต่เดิมนั้นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 จะมีพิธีลอยกระทงเรียกว่า พระราชพิธีจองเปรียงชักโคม ลอยโคม ซึ่งเป็นพิธีของพราหมณ์ กระทำเพื่อบูชาพระเป็นเจ้าทั้งสาม คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ครั้นคนไทยรับนับถือพระพุทธศาสนาก็ทำพิธี ยกโคม เพื่อบูชา พระบรมสารีริกธาตุ พระจุฬามณี ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ลอยโคมบูชาพระพุทธบาท ณ หาดทรายแม่น้ำนัมมทานที ประเทศอินเดีย

 

<------------->

 

 

<------------->

 

สำหรับการลอยกระทงตามสายน้ำนี้เกิดขึ้นครั้งแรกตามหลักฐานที่บันทึกเอาไว้ว่า นางนพมาศ ซึ่งเป็นสนมเอกของพระร่วงเจ้ากรุงสุโขทัยได้คิดทำกระทงรูปดอกบัวและรูปต่าง ๆ ถวาย พระร่วง ทรงให้ลอยกระทงตามสายน้ำไหลใน หนังสือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ พระร่วงตรัสว่า แต่นี่สืบไปเบื้องหน้า โดยลำดับกษัตริย์ในสยามประเทศ ถึงกาลกำหนด นักขัตฤกษ์ วันเพ็ญเดือน 12 ให้ทำโคมลอยเป็นรูปดอกบัวอุทิศสักการบูชา พระพุทธบาทนัมฆทานที ตราบเท่ากัลปาวสาน ครั้นถึง สมัยรัตนโกสินทร์ มีการทำกระทงขนาดใหญ่และสวยงามมีการประกวดประขันกัน

โคมลอย สามารถจำแนกออกได้เป็น 2 แบบตามลักษณะการใช้งานคือ

1. โคมลอยที่ใช้ปล่อยในเวลากลางวัน โคมลอยชนิดนี้จะอาศัยหลักการการลอยตัวของควันไฟในเวลากลางวัน โดยใช้วิธีการรมควันให้ควันไฟเข้าไปรวมกันอยู่ภายในตัวโคมลอยจนเต็มที่จากนั้นจำนวนควันไฟที่อัดแน่นอยู่ภายในตัวโคมลอยจะช่วยพยุงให้ตัวโคมลอยสามารถลอยพุ่งขึ้นสู่บนท้องฟ้าได้

2. โคมลอยที่ใช้ปล่อยในเวลากลางคืน โคมลอยชนิดนี้ปัจจุบันเป็นที่นิยมปล่อยกันมากและมีความนิยมสูงขึ้นเรื่อย ๆ เพราะเมื่อโคมลอยลอยพุ่งขึ้นสู่บนท้องฟ้าในเวลากลางคืนแสงไฟที่จุดตรงใส้โคมลอยจะสามารถมองเห็นได้อย่างเด่นชัดและเกิดความสวยงาม หลักการลอยตัวของโคมลอยชนิดปล่อยกลางคืนนี้ใช้ความร้อนจากไฟที่ลุกไหม้ของไส้โคมที่ติดอยู่ตรงฐานล่างของโคมลอย เป็นแรงขับให้ตัวโคมลอยสามารถลอยพุ่งขึ้นสู่บนท้องฟ้าได้

 

(859)