เบญจภาคีแห่งพระเครื่อง

พระเบญจภาคี หมายถึง พระเครื่องชุดหนึ่งประกอบด้วยพระจำนวน 5 องค์ โดยมี พระสมเด็จวัดระฆัง โฆสิตารามเป็นองค์ประธาน พระนางพญา กรุวัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก, พระผงสุพรรณ จังหวัดสุพรรณบุรี, พระลีลา จังหวัดกำแพงเพชร และพระรอด กรุวัดมหาวัน จังหวัดลำพูน แต่เนื่องจากพระกำแพงลีลาหาได้ยากมากขึ้น จึงได้พระกำแพงซุ้มกอ จังหวัดกำแพงเพชรมาแทน ผู้ที่จัดพระชุดเบญจภาคีคือ ตรียัมปวาย นี้เองที่ได้จัดทำทำเนียบชุดพระเครื่อง เบญจภาคี ขึ้นในปี 2495

พระสมเด็จวัดระฆัง สร้างโดยท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พฺรหฺมรังสี แห่งวัดระฆังโฆษิตาราม เป็นพระทรงสี่เหลี่ยม ขนาดกว้างประมาณ 2.2-2.4 ซ.ม. สูงประมาณ 3.5 ซ.ม. หนาประมาณ 0.3 – 0.4 ซ.ม. เนื้อปูนปั้นสร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. 2410 สันนิฐานว่าแม่พิมพ์สร้าง โดยลูกศิษย์ที่อยู่ในงานช่างสิบหมู่ซึ่งเป็นช่างหลวง และเชื่อว่า มีหลายท่านที่แกะพิมพ์ถวายแต่ที่ปัจจุบันนิยมจะเน้นเฉพาะพิมพ์ทรงของ หลวงวิจาร เจียรนัย ราคาเช่าหาองค์หนึ่ง ไม่ต่ำกว่า 10 ล้านส่วนของช่างท่านอื่นจะเล่นหาเฉพาะ กลุ่มโดยต้องดูเนื้อประกอบราคาเช่า หาตามความพอใจ

พระนางพญา สันนิฐานว่าสร้างโดย สมเด็จพระวิสุทธิกษัตรี องค์เอกอัครมเหสีแห่งสมเด็จพระมหา ธรรมราชา ซึ่งเป็นพระราชมารดา ของสมเด็จพระนเรศวร ประมาณ พ.ศ. 2100 เมื่อครั้งประทับอยู่ที่เมือง พระพิษณุโลกสองแควบรรจุกรุที่วัดนางพญา และกรุแตกครั้งแรกเมื่อปี 2442 ในรัชสมัย รัชกาลที่ 5 โดยประมาณว่าพระในกรุมีประมาณ 84,000 องค์ ได้แบ่งฝากกรุในกรุงเทพฯ และต่างวัดอื่นๆ อีกมาก และยังพบปะปลายในกรุอื่นๆในจังหวัดพิษณุโลกราคาเช่าหาไม่ใช่ถูก อย่างน้อยก็หลักแสนกลางๆ พอหาได้

 

<------------->

 

 

<------------->

 

พระกำแพงซุ้มกอ ผู้สร้างไม่ปรากฏแต่สันนิฐานว่า พระมหาธรรมราชาลิไท กษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งกรุงสุโขทัย สร้างเมื่อครั้งครองเมืองกำแพงเพชร ประมาณ พ.ศ. 1900 พบพระซุ้ม ก. จำนวนมากเกลื่อนทุ่งเศรษฐี เนื่องจากในเขตทุ่งเศรษฐีพบทุกกรุ แต่ไม่ได้อยู่เป็นกรุกลับแตกกระจายเกลื่อน สันนิฐานว่าเดิมน่าจะอยู่ในกรุ แต่ถูกชาวบ้านรื้อค้นหาพระ หรือสมบัติมีค่า เห็นพระเนื้อดินไม่สนใจ เพราะมีจำนวนมากและพระสกุลกำแพงเพชรที่เป็นเนื้อดินมีเป็น ร้อยๆ พิมพ์ นิยมทุกพิมพ์ แต่ที่นิยมที่สุดแพงที่สุด ก็คือ พระกำแพงซุ้ม ก.เป็นพระเนื้อดิน ละเอียดหนึกนุ่มผสมว่านปรากฏเม็ดและเอียดและแร่ว่านดอกมะขาม

พระผงสุพรรณ    ผู้สร้าง สันนิฐานว่าเป็นกษัตริย์ในราชวงศ์ สุพรรณภูมิ น่าจะเป็นสมเด็จ พระบรมราชาธิราช ที่ 2 ประมาณ พ.ศ. 2091 ในจารึกแผ่นทองที่พบที่เจดีย์ใหญ่วัดพระ ศรีรัตนมหาธาตุ ระบุว่าได้มีพระบรมราชโองการสั่งให้พระฤาษีพิมพิลาไลย์ เป็นประธานในการสร้าง ต่อมาในปี 2456 ในสมัย รัชกาลที่ 6 มีคนลอบขุดกรุนี้ได้สมบัติไปไม่น้อยรวมถึง จารึกแผ่นทองอีกจำนวนมาก

พระรอด  ขุดพบที่วัดมหาวัน จ.ลำพูน ได้มีการกำหนดอายุสมัยและศิลปะพระรอดว่า สร้างในสมัยกษัตริย์จามเทวีแห่งอาณาจักรหริภุญไชย พระรอดเป็นพระเครื่องเนื้อดินเผา มีสีแดง สีเหลือง สีขาวนวล และสีเขียวคราบแดง มีพิมพ์นิยมในวงการพระเครื่อง 5 พิมพ์ด้วยกันคือ 1.พิมพ์ใหญ่ 2.พิมพ์กลาง 3.พิมพ์เล็ก 4.พิมพ์ตื้น 5.พิมพ์ต้อ ซึ่งนับได้ว่าเป็นเพชรน้ำเอกของนครหริภุญชัย เป็นพระเครื่องคู่บ้านคู่เมือง ของ จ.ลำพูนที่มีอายุการสร้างกว่า 1000 ปี ส่วนคำว่า รอด น่าจะเพี้ยนมาจากคำว่า รอท หรือ นารทะ อันเป็นนามของพระฤาษีนารอทหรือพระนารทะฤาษี

(9156)