เครื่องเงินวัวลาย

เครื่องเงินวัวลาย ตำนานผลิตภัณฑ์เครื่องเงินในการทำเครื่องเงิน ของบ้านศรีสุพรรณนั้น ปรากฏหลักฐานตั้งแต่ครั้งพญามังรายสร้างเมืองเชียงใหม่ ซึ่งสร้างความสัมพันธ์กับพุกาม และเจรจาขอช่างฝีมือ มายังเมืองเชียงใหม่ เพื่อฝึกเป็นอาชีพเสริมให้กับประชาชน ทำให้เชียงใหม่มีช่างหัตถกรรมพื้นบ้านที่ได้รับการฝึกฝนและมีการสืบทอดต่อเนื่องกันตลอดมา

โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำเครื่องเงินของช่างบ้านศรีพรรณ ผู้ตีขันเงิน จะสลักลวดลายบนขันเงิน เป็นช่างในคุ้มหลวงเมืองเชียงใหม่ในอดีต และได้นำมาถ่ายทอดอย่างต่อเนื่องให้ลูกหลานจนสามารถเป็นช่างฝีมือ จนเป็นที่ยอมรับและได้ขยายแหล่งที่ผลิตเครื่องเงิน ไปยังหมู่บ้านอื่น ๆ เช่นบ้านหารแก้ง อำเภอหางดง บ้านแม่หย้อย อำเภอสันทรายซึ่งได้พัฒนารูปแบบลวดลายไปมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจุบันเครื่องเงิน ได้พัฒนาไปมากรวมทั้งลวดลายก็ได้พัฒนาสู่วิถีชีวิตที่หลากหลายมากขึ้นเช่นกัน

 

<------------->

 

 

<------------->

 

ในอดีตก่อนปี พ.ศ. 2500 ชาวบ้านวัวลายจะประกอบอาชีพทำนากันเป็นส่วนใหญ่ เมื่อว่างเว้นจากการทำนาก็จะเป็นช่างฝีมือประกอบชีพทำเครื่องเงินตามที่ไดรับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษโดยจะใช้แรงงานของสมาชิกในครอบครัว และเกือบทุกบ้านจะมีโรงงานขนาดเล็กประจำอยู่ที่บ้าน เรียกว่า “เตาเส่า”

 

สมาชิกในครอบครัวจะช่วยกันทำเครื่องเงินเพื่อใช้สอยในชีวิตประจำวัน และเพื่อการค้า โดยจะไปซื้อแร่เงินจากร้านคนจีนในตัวเมืองเชียงใหม่ จากนั้นจะนำแร่เงินมาตี-ขึ้นรูป ตามประเภทของผลิตภัณฑ์ ซึ่งส่วนใหญ่จะทำสลุง ขันล้างหน้า พาย ถาด โดยมากผู้ที่ทำหน้าที่เป็นช่างตีและขึ้นรูป จะใช้แรงงานชายได้แก่ พ่อ สามี ลูกชาย ส่วนผู้หญิงคือแม่ และลูกสาว จะรับหน้าที่เป็นช่างแกะลาย และนำเครื่องเงินไปขาย

(1757)