ระดับชั้นหรือยศของข้าราชการไทยในสมัยโบราณ

ขุนนางของไทยสมัยโบราณ ไม่เหมือนกับขุนนางในประเทศตะวันตก คือ ไม่ได้เป็นขุนนางสืบตระกูล ผู้ที่ได้ครองบรรดาศักดิ์ก็อยู่ในบรรดาศักดิ์เฉพาะตนเท่านั้น จึงเทียบได้กับข้าราชการ หรือ ระบบชั้นยศของข้าราชการในสมัยปัจจุบัน ที่มีการแบ่งเป็นระดับต่างๆ แต่ขุนนางไทยในสมัยโบราณ จะมีราชทินนาม และ ศักดินา เพิ่มเติมแตกต่างจากข้าราชในปัจจุบันที่มีเพียงชั้นยศเท่านั้น

ศักดินาเป็นเครื่องกำหนดความสูงต่ำของยศศักดิ์ขุนนาง โดยในสังคมไทยสมัยกรุงศรีอยุธยายกเว้นกษัตริย์ ถูกกำหนดให้แต่ละคนมีจำนวนศักดินาประจำตัวแตกต่างกัน บุคคลที่มียศศักดิ์สูง มีหน้าที่ราชการความรับผิดชอบมาก ก็มีศักดินาสูงเป็นไปตามลำดับขั้น

บรรดาศักดิ์ของขุนนางไทย

 

<------------->

 

 

<------------->

 
  1. เจ้าพระยา เป็นบรรดาศักดิ์ขุนนางที่สูงที่สุด ตามพระไอยการนาพลเรือน นายทหาร หัวเมือง ในสมัยอยุธยา มีเพียง 5 ตำแหน่ง (ศักดินา 10,000)
  2. พระยา  เป็นบรรดาศักดิ์ สำหรับขุนนางระดับสูง หัวหน้ากรมต่างๆ เจ้าเมืองชั้นโท และแม่ทัพสำคัญ ในพระไอยการฯ มีเพียง 33 ตำแหน่ง ดังนั้น จึงมีประเพณี พระราชทานเครื่องยศ  พระยาที่มีศักดินามากกว่า 5,000 จะได้รับพระราชทานพานทอง ประกอบเป็นเครื่องยศ จึงเรียกกันว่า พระยาพานทอง ซึ่งถือเป็นขุนนางระดับสูง ส่วนพระยาที่มีศักดินาต่ำกว่านี้ จะไม่ได้รับพระราชทานพานทอง
  3. พระ หรือ จมื่น เป็นบรรดาศักดิ์ หัวหน้ามหาดเล็ก ในกรมมหาดเล็ก ศักดินา 800-1000 เทียบได้เท่ากับ บรรดาศักดิ์ พระ ที่มีศักดินาใกล้เคียงกัน แต่จมื่นนั้น ได้รับการยกย่องมากกว่า เนื่องจากอยู่ใกล้ชิดพระเจ้าแผ่นดิน และมักจะมีอายุยังน้อย อยู่ในระหว่าง 20-30 ปี มักเป็นลูกหลานของขุนนางชั้นผู้ใหญ่ที่นำมาถวายตัวรับใช้ใกล้ชิด พระเจ้าแผ่นดิน และเป็นช่องทางเข้ารับราชการต่อไปในอนาคต

การเปรียบเทียบข้าราชการในอดีต กับปัจจุบันแบบคร่าวๆ
ข้าราชการระดับ ซี 1 อาจเทียบได้กับ “นาย”
ข้าราชการระดับ ซี 2 เทียบ “พัน” หรือ “หมื่น”
ข้าราชการระดับ ซี 3,4 เทียบ “ขุน”
ข้าราชการระดับ ซี 5,6 เทียบ “หลวง”
ข้าราชการระดับ ซี 7,8 เทียบ “พระ”
ข้าราชการระดับ ซี 9,10 เทียบ “พระยา”
ข้าราชการระดับ ซี 11 อาจเทียบได้กับ “เจ้าพระยา”

ข้อมูลจาก wikipedia, pantip.com, krunuchtrara

(7154)