มะรุม

มะรุม จัดเป็นพืชผักพื้นบ้านของไทย มีประโยชน์เอนกประสงค์ ทั้งทางด้านอาหาร ยาและอุตสาหกรรม เป็นไม้ยืนต้นที่โตเร็ว ทนแล้ง ปลูกง่ายในเขตร้อน อาจจะเติบโตมีความสูงถึง4 เมตรและออกดอกภายในปีแรกที่ปลูก ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ชนิดที่แตกใบย่อย 3 ชั้น ยาว 20 – 40 ซม. ออกเรียงแบบสลับ ใบย่อยยาว 1 – 3 ซม. รูปไข่ ปลายใบและฐานใบมน ผิวใบด้านล่างสีอ่อนกว่าและมีขนเล็กน้อยขณะที่ใบยังอ่อน ใบมีรสหวานมัน

มะรุมออกดอกในฤดูหนาว บางพันธุ์ออกดอกหลายครั้งในรอบปี ดอกเป็นดอกช่อ สีขาว กลีบเรียง มี 5 กลีบ กลีบดอกมี 5 กลีบแยกกัน ดอกมีรสขม หวาน มันเล็กน้อย ผลเป็นฝักยาว เปลือกสีเขียวมีส่วนคอดและส่วนมน เป็นระยะ ๆ ตามยาวของฝัก ฝักยาว 20 – 50 ซม. ฝักมีรสหวาน เมล็ดเป็นรูปสามเหลี่ยม มีปีกบางหุ้ม 3 ปีก เส้นผ่าศูนย์กลางของเมล็ดประมาณ 1 ซม.สมัยก่อนนิยมกินมะรุมในช่วงต้นฤดูหนาว เพราะเป็นฤดูกาลของฝักมะรุม จึงหาได้ง่าย และมีรสชาติอร่อย เพราะสดเต็มที่ มะรุมสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายเมนู เช่น แกงส้มฝักมะรุม  ฝักมะรุมอ่อนผัดน้ำมันหอย  ยำฝักมะรุมอ่อน ฯลฯในต่างประเทศมีการค้นคว้า และวิจัยอย่างกว้างขวางที่จะนำพืชชนิดนี้มาใช้รักษาความเจ็บป่วยของมนุษย์ เนื่องจากมะรุมเป็นพืชที่มีธาตุอาหารปริมาณสูงมาก นั่นคือ

มีวิตามินเอบำรุงสายตามากกว่าแครอต 3 เท่า  มีวิตามินซีช่วยป้องกันหวัด 7 เท่าของส้ม มีแคลเซียมบำรุงกระดูกเกิน 3 เท่าของนมสด มีโพแทสเซียมบำรุงสมองและระบบประสาท 3 เท่าของกล้วย มีใยอาหารและพลังงานไม่สูงมากเหมาะกับผู้ที่ควบคุมน้ำหนัก  นอกจากนี้น้ำมันสกัดจากเมล็ดมะรุมมีองค์ประกอบคล้ายน้ำมันมะกอกดีต่อสุขภาพอย่างยิ่ง

 

<------------->

 

 

<------------->

 

ราก มีรสเผ็ด หวาน ขม แก้อาการบวม บำรุงไฟธาตุ

เปลือกจากลำต้น  มีรสร้อน นำมาสับให้เป็นชิ้นเล็กๆ ใส่ผ้าห่อทำเป็นลูกประคบนึ่งให้ร้อนนำมาใช้ประคบ แก้โรค  ปวดหลัง ปวดตามข้อได้เป็นอย่างดี  รับประทานเป็นยาขับลมในลำไส้ ทำให้ผายหรือเรอ คุมธาตุอ่อนๆ (ตัดต้นลมดีมาก) แพทย์ตามชนบท จะใช้เปลือกมะรุมสดๆ ตำบุบพอแตกๆ อมไว้ข้างแก้ม แล้วรับประทานสุราจะไม่รู้สึกเมา

กระพี้  แก้ไข้สันนิบาดเพื่อลม

ใบ  ช่วยแก้เลือดออกตามไรฟัน แก้อักเสบ ใบสดมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ มีแคลเซียม วิตามินซี แร่ธาตุและสารต้านอนุมูลอิสระสูงมาก นอกจากนี้ยังมีการค้นพบว่า ใบมะรุมมีโปรตีนสูงกว่านมสด 2 เท่า การกินใบมะรุมตามชนบทของประเทศกำลังพัฒนา และประเทศโลกที่ 3 เป็นการเพิ่มโปรตีนคุณภาพสูงราคาถูกให้กับอาหารพื้นบ้าน

ดอก  ช่วยบำรุงร่างกาย ขับปัสสาวะ ขับน้ำตา  ใช้ต้มทำน้ำชาดื่มช่วยให้นอนหลับสบาย

ฝัก  รสหวาน แก้ไข้หรือลดไข้

เมล็ด  นำเมล็ดมะรุมมาสกัดน้ำมันสามารถใช้ทำอาหาร รักษาโรคปวดตามข้อ โรคเก๊า  รักษาโรครูมาติซั่ม และรักษาโรคผิวหนัง  แก้ผิวแห้ง  ใช้แทนยารักษาผิวให้ชุ่มชื้น  รักษาโรคอันเกิดจากเชื้อรา

เนื้อในเมล็ดมะรุม  ใช้แก้ไอได้ดี การรับประทานเนื้อในเมล็ด เป็นประจำสามารถเพิ่มภูมิต้านทานให้ร่างกายได้

นอกจากนี้กากของเมล็ดกากที่เหลือจากการทำน้ำมัน สามารถนำมาใช้ในการกรอง หรือทำน้ำให้บริสุทธิ์เป็นน้ำดื่มได้ กากของเมล็ดมีคุณสมบัติเป็นยาฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพสูงเป็นอย่างยิ่ง และยังสามารถนำมาทำปุ๋ยต่อได้อีกด้วย

(1756)