พลอยนพเก้า

ในสมัยโบราณนั้นให้ความเชื่อถือกันมาว่า ถ้าผู้ใดมีอัญมณีทั้ง 9 ชนิดนี้ไว้ครบทั้งหมดก็จะเป็นสิริมงคลอย่างสูงสุด อัญมณีทั้ง 9 ชนิดที่ว่านี้ประดับไปด้วย เพชร และพลอยสำคัญอีก 8 ชนิด คือ ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน นิลกาฬ (ไพลิน) มุกดาหาร เพทาย และไพฑูรย์ ตามความเชื่อโบราณราชประเพณีกล่าวไว้ว่า อัญมณีหรือเพชรพลอยทั้ง 9 ชนิดที่เรียกว่า นพเก้า หรือ นพรัตน์ นั้น ถือเป็นสัญลักษณ์ของดาวนพเคราะห์ ซึ่งถือว่าเป็นของสูง เป็นสิริมงคลแก่ผู้เป็นเจ้าของ ใครมีไว้ก็ล้วนแต่เจริญรุ่งเรืองและเลิศด้วยความดีงามทั้งปวง


1. เพชร สิริมงคลคือ เป็นผู้ที่ยิ่งใหญ่ มีชัยแก่ศัตรู ร่ำรวย

2. มณี (ทับทิม) สิริมงคลคือ ความสำเร็จ ลาภยศ อายุยืน

3. มรกต สิริมงคลคือ ความศรัทธา กล้าหาญ ป้องกันภัยอันตรายทั้งปวง

4. บุษราคัม สิริมงคลคือ มีเสน่ห์เป็นที่รัก

5. โกเมน สิริมงคลคือ สุขภาพดี อายุยืนนาน

6. นิลกาฬ (ไพลิน) สิริมงคลคือ ความรัก ความเมตตากรุณา ความร่ำรวย

7. มุกดาหาร สิริมงคลคือ ความบริสุทธิ์ ร่มเย็น และชนะแก่ศัตรู

8. เพทาย สิริมงคลคือ ความร่ำรวย ชนะคดีความ

9. ไพฑูรย์ สิริมงคลคือ เทวดาคุ้มครอง ป้องกันฟืนไฟ

 

<------------->

 

 

<------------->

 

ในเรื่องของอัญมณีอันเป็นสิริมงคลทั้ง 9 ชนิดนี้ คนไทยโดยทั่วไปนิยมเลื่อมใสนับถือเป็นของมีค่าสูงและเป็นสิริมงคล นำมาใช้ประโยชน์ทั้งในด้านศาสนา และในสถาบันพระมหากษัตริย์ เช่น ทำเป็นพระพุทธรูปต่างๆ ตลอดจนใช้ประดับเครื่องทรงและที่ประทับ ใช้เป็นเครื่องประดับแสดงถึงตำแหน่งและเกียรติยศ เครื่องราชูปโภคในพระราชพิธีสำคัญ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตลอดจนสิ่งของเครื่องใช้ของที่เป็นบำเหน็จรางวัล เครื่องประดับต่างๆ ของพระราชวงศ์ ขุนนาง และข้าราชการชั้นสูง (ในเรื่องของการนำอัญมณีนพเก้าไปประดับและนำไปใช้ในราชสำนัก

ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวที่ให้ความสำคัญอย่างเป็นทางการ และยกย่องให้นพรัตน์เป็นรัตนมงคลโบราณแห่งแผ่นดิน ตามพระราชบัญญัติ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ บัญญัติว่าเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องประดับสำหรับยศแห่งพระมหากษัตริย์ ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯให้สร้างดวงตรามหานพรัตน์ สำหรับห้อยสายสะพายขึ้นเป็นครั้งแรกของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย)

นอกจากนั้นแล้ว ประชาชนโดยทั่วไปทุกระดับชั้นก็สามารถหามาใช้ได้ตามกำลังฐานะ นอกจากเพื่อความสวยงาม และความเป็นสิริมงคลต่างๆ อีกทั้งยังใช้เป็นหลักทรัพย์ที่ถือเป็นมรดกสืบทอดแก่ทายาทในวงศ์ตระกูล เป็นของกำนัลตอบแทนผู้มีน้ำใจช่วยเหลือยามที่เคยตกยากอีกด้วย

(8427)