ขนมปลากริมไข่เต่า

ขนมปลากริมไข่เต่า เป็นขนมไทยชนิดหนึ่งซึ่งนำขนมปลากริม และขนมไข่เต่ามารับประทานด้วยกัน ให้รสหวานจากขนมปลากริม และรสเค็มจากขนมไข่เต่าผสมรวมกัน

 

ในอดีตขนมชนิดนี้มีชื่อว่า ขนมแชงมา หรือ ขนมแฉ่งม้าซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 แต่หาข้อสรุปไม่ได้ว่าหน้าตาของขนมนี้เป็นเช่นไร แต่ทราบกันว่าเป็นขนมที่มีชื่ออยู่ในบทเพลงกล่อมเด็กว่า”โอ้ละเหโอ้ละหึก ลุกขึ้นแต่ดึกทำขนมแฉ่งม้า ผัวก็ตี เมียก็ด่า ขนมแฉ่งม้าก็คาหม้อแกง”

 

จนกระทั่งสมัยรัชกาลที่ 5ท่านผู้หญิง เปลี่ยน ภาสกรวงศ์ ผู้เชี่ยวชาญอาหารคาวหวาน และผู้แต่งตำราแม่ครัวหัวป่าก์ในสมัยนั้นได้บันทึกไว้ว่า วันหนึ่งอุบาสิการเนย วัดอัมรินทร์ได้นำขนมมาให้ วางถาดขนมลง 2 หม้อ หม้อหนึ่งคือขนมไข่เต่า(ขนมที่ใช้แป้งปั้นเป็นรูปกลมๆต้มกับกะทิ และเติมแป้งให้น้ำข้นเล็กน้อย เติมเกลือให้มีรสเค็ม เป็นขนมที่มีสีขาว) อีกหม้อหนึ่งคือขนมปลากริม(ขนมที่ใช้แป้งข้าวเจ้าปั้นให้มีลักษณะเป็นตัวยาว ๆ และถูกนำไปต้มในน้ำและเติมน้ำตาลปึกเป็นขนมที่มีสีน้ำตาล)

 

<------------->

 

 

<------------->

 

 

อุบาสิกาเนยได้บอกกับเธอว่า”ขนมชนิดนี้คือขนมแชงมา” เธอจึงได้ถามออกไปว่า”ขนมเช่นนี้เขาเรียกกันว่าขนมปลากริม ขนมไข่เต่า ไม่ใช่หรือ” อุบาสิกาเนยจึงบอกว่า “โบราณใช้ผสม 2 อย่างเข้าด้วยกันจึงเรียกว่าขนมแชงมา ถ้าอย่างเดียวจะเรียกว่าขนมปลากริม ขนมไข่เต่า รับประทานครั้งละครึ่งกัน ตักขนมปลากริมลงชามก่อน แล้วจึงตักขนมไข่เต่าทับลงหน้า เมื่อรับประทานเอาช้อนคน รับประทานด้วยกัน

 

ขนมปลากริมไข่เต่า ขนมไทยที่ปัจจุบันไม่ค่อยจะเห็นมากนัก ปลากริม แป้งผสมและนวด นำไปลอยในน้ำตาลที่เคียวไว้ ตัวแป้งมีสีน้ำตาลแดงรสชาติหวาน ไข่เตา เป็นแป้งที่นำมาผสมและนวด นำไปลอยในน้ำกะทิ ตัวแป้งมีสีขาวรสชาติเค็ม เวลาทานรสชาติเข้ากันเป็นอย่างดี

(2322)