พลังของการบันทึก…ทำให้ชาวสยามรุ่นหลังได้เห็นใบหน้าที่ใกล้เคียงของเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน)

ภาพวาด เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ใบนี้ถูกเขียนขึ้นโดย ชาร์ลส์ เลอ เบริง (Charles Le Brun) จิตรกร ชาวฝรั่งเศส ถูกนำออกมาจัดแสดงในงาน Visitors to Versailles ที่จัดขึ้น ณ พระราชวังแวร์ซาย ระหว่างวันที่ 22 ตุลาคม 2017 – 25 กุมภาพันธ์ 2018 ที่ผ่านมา

ชาร์ลส์ เลอ เบริง รู้สึกสนใจในขนบธรรมเนียมที่ชาวสยามปฏิบัติขณะที่เดินทางมายังพระราชวังแวร์ซาย และได้เข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส จึงได้สนใจและบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ ผ่านทางภาพเขียน

การจดบันทึกของ ชาร์ลส์ เลอ เบริง  ทำให้ชาวไทยรุ่นหลัง ได้เห็นใบหน้าที่เสมือนจริงของ เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) เมื่อ ค.ศ. 1686  หรือ พ.ศ. 2229 ซึ่งเป็นเรื่องราวราเกิดขึ้นราว 332 ปีมาแล้ว ซึ่งวาดขึ้นในช่วงรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แต่ชาวสยามเราแทบไม่สามารถทราบพระพักตร์ที่แท้จริงของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้เลย

 

<------------->

 

 

<------------->

 

สำหรับในประเทศไทยนั้นการบันทึกจะถูกเรียกว่า พงศาวดาร คือบันทึกเหตุการณ์เกี่ยวกับประเทศชาติหรือพระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขของประเทศชาตินั้น ๆ

พงศาวดารในฐานะหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ปัจจุบันมีการถกเถียงกันเรื่องความน่าจะเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่า เป็นหลักฐานชั้นต้นหรือหลักฐานชั้นรอง เพราะมีการเขียนพงศาวดารหลายฉบับในลักษณะที่คล้ายกันแต่แตกต่างกันในเนื้อหาและรายละเอียด ประกอบกับการใช้ศักราชในพงศาวดารไม่สอดคล้องกัน กล่าวคือ บ้างใช้มหาศักราช บ้างใช้จุลศักราช และพงศาวดารมีการเขียนขึ้นภายหลังเหตุการณ์ เช่น พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ ซึ่งเขียนขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แต่กล่าวถึงก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา เป็นต้น

 

(11636)