กระบี่กระบอง

กระบี่กระบอง เป็นการแสดง การเล่น การฝึก การต่อสู้ป้องกันตัวด้วยอาวุธโบราณของไทยเราที่ใช้ต่อสู้ป้องกันตัว ป้องกันประเทศในสมัยก่อน โดยทำเลียนแบบอาวุธจริง เป็นไม้ โลหะ หนังสัตว์ เช่น ดาบ หอก ง้าว ดั้ง เขน โล่ ไม้ศอกสั้น เป็นต้นชาติไทยเป็นชนชาติที่มีการต่อสู้ศึกสงครามเพื่อป้องกันประเทศ รักษาความเป็นเอกราชของแผ่นดินที่ยาวนานชนชาติหนึ่ง คนไทยในยุคแรก ๆ ที่เริ่มก่อตั้งแผ่นดินสุวรรณภูมิแหลมทองมาจนถึงยุครัตนโกสินทร์ บรรพบุรุษในยุคดังกล่าวได้อาศัยสติปัญญา ความกล้าหาญ และใช้อาวุธนานาชนิดที่มีอยู่ในท้องถิ่นและกองทัพเข้าต่อสู้ป้องกันมาโดยตลอด เริ่มจากกรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และ กรุงรัตนโกสินทร์

ในสมัยก่อน การประลองแบบแรกเป็นเรื่องจริงจังอาศัยหลักวิชาการต่อสู้เป็นหลัก จึงมีคนนิยมเป็นอย่างมาก ยิ่งถ้าประลองกับชาวต่างชาติ หรือชาวตะวันตกที่ใช้อาวุธของเขาเป็นหลักก็ยิ่งทำให้เป็นที่สนใจมากขึ้น (ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชก็ยังมีการประลองมวย และการต่อสู้ด้วยอาวุธหน้าพระที่นั่งเหมือนกัน)

 

<------------->

 

 

<------------->

 

เมื่อถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น รัชกาลที่ 1 – 2 มักจะเรียกว่า การประลองดาบ การประลองหอก การประลองยิงธนู เป็นต้น และเรียกบรรดาผู้คนที่มีวิชาความรู้เรื่องฟันดาบว่า นักดาบ นำหน้าสำนักหรือหมู่บ้านชุมชนนั้น ๆ เช่น นักดาบจากบ้านบางระจัน นักดาบจากกรุงศรีอยุธยา นักดาบจากพุกาม ทหารจากพม่า ลาว เขมร แต่จะไม่มีใคร เรียกว่า นักกระบี่กระบอง

คำว่า กระบี่ – กระบอง เกิดหลังรัชสมัยของรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์คำว่า กระบี่ – กระบอง มีคำกล่าวถึงที่มาของคำนี้อยู่หลายประการ แต่ยังมีเหตุผลที่น่าคิดและน่าเชื่อถือได้อีก ประการหนึ่ง กล่าวคือ

เรื่องรามเกียรติ์ กระบี่ หมายถึง หัวหน้าฝ่ายลิง(หนุมาน) ถือตรีหรือสามง่ามสั้น ๆ เป็นอาวุธ ลิงรูปร่างเล็กเคลื่อนไหวเร็ว แคล่วคล่องว่องไว ลูกน้องพลลิงทั้งหลายบางตัวก็ใช้พระขรรค์เป็นอาวุธ

กระบอง หมายถึง พวกยักษ์ที่พกกระบองเป็นอาวุธ ยักษ์มีรูปร่างใหญ่โต เคลื่อนไหวช้า เพราะฉะนั้นการจัดระเบียบเรียกแยกประเภท อาวุธที่ใช้แสดงต่อสู้ป้องกันตัวน่าจะมาจากการแยกฝ่ายยักษ์และลิง โดย ถือว่าลิงรูปร่างเล็กและผู้พากย์โขนมักเรียกขนานนามว่า ขุนกระบี่ ซึ่งหมายถึง หนุมานหัวหน้าลิง ซึ่งมีตรีหรือสามง่ามสั้นพกเป็นอาวุธประจำกาย และพลลิงตัวอื่น ๆ พกอาวุธสั้น เช่น พระขรรค์ เป็นต้น

 

(680)