ฟ้อนร่มฟ้าไท-ยวน

ท่าฟ้อนร่มฟ้าไท-ยวน หรือเรียกว่า ฟ้อนยวนสาวไหม เป็นฟ้อนที่แสดงเอกลักษณ์อกัพกิริยาท่าทางและการดำรงค์ชีวิตของของหญิงชาวไทยวนสมัยก่อนคือการทอผ้าฝ้ายการแต่งตัว ทั้งเสื้อผ้าทรงผม

 

จากคำบอกเล่าของผู้ประดิษฐ์ท่าฟ้อนคืออาจารย์ธีรวุฒิ ได้ความว่า เนื่องจากฟ้อนชุดนี้ได้ประดิษฐ์ขณะอยู่อาศัยอยู่ในจังหวัดสระบุรีและได้พบกับชาวไทยวนที่อพยพมาจาก นครเชียงแสนมาอยู่ที่ สระบุรี เมื่อ 200 กว่าปี คืออาจารย์ทรงชัย วรรณกุล

 

โดยทั้งสองได้พูดคุยกันเรื่องการฟ้อนที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวไทยวนสระบุรี และอาจารย์ธีรวุฒิ ได้อาสาช่วยประดิษฐ์ท่าฟ้อนให้และแล้วเสร็จในปี 2548 โดยถ่ายทอดให้กับเยาวชนกลุ่มแรกคือ นักเรียนเทศบาล4 หนองแคอนุสรณ์ อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี

เนื่องจากเป็นฟ้อนที่ประดิษฐ์ให้กับชาวไทยวนที่อาศัยอยู่ในสระบุรี จึงมีเอกลักษณ์ของพื้นที่ใกล้เคียงในจังหวัดสระบุรีต่อมาแทรกอยู่ในท่าฟ้อนชุดนี้ เช่น เอกลักษณ์ ของท่าฟ้อนจากละโว้ ในท่า กวาดไกว๋ยอมสี เป็นต้น

 

ต่อมาท่าฟ้อนนี้ได้ถ่ายทอดให้กับเยาชนบ้านป่าแดด อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย และกลุ่มผู้สนใจในชุมชนต่าง ๆ ในจังหวัดใกล้เคียงด้วยท่าฟ้อนที่อ่อนช้อยและชุดที่สวมใส่งดงามทำให้ฟ้อนชุดนี้เป็นที่เผยแพร่เผยแพร่ และเป็นที่ยอมรับรู้จักของคนทั่วไป