เพลงลูกทุ่ง : หางเครื่อง

นักเต้นประกอบ คือนักเต้นหรือกลุ่มของนักเต้นที่เต้นรำพร้อมกับศิลปิน หรือเต้นรำเป็นฉากหลังในการแสดงทางดนตรีอย่างคอนเสิร์ตหรือมิวสิกวิดีโอ การเคลื่อนไหวของนักเต้นประกอบมักจะมีการจัดท่าเต้นให้สมมาตรกับศิลปินหรือเต้นพร้อมกันทั้งหมดโดยเข้ากับจังหวะของดนตรี ศิลปินนักร้องบางท่านเคยทำงานเป็นนักเต้นประกอบมาก่อนที่จะได้เป็นนักร้องในปัจจุบัน

ที่มาของคำว่าหางเครื่อง คาดว่ามาจากสำนวนคำว่า “เขย่าหางเครื่อง” ในขณะที่นักร้องออกมาร้องเพลงบนเวทีคนที่ให้เสียงจังหวะเรียกว่า หางเครื่อง คือจะมีคนออกมาตีฉิ่ง ฉาบ กรับ ไม้ต๊อก และเคาะลูกแซ๊กอยู่ข้างหลังนักร้องเพื่อให้จังหวะเพลงให้เด่นชัดขึ้นและสนุกสนานมากขึ้น แต่ความหมายดังกล่าวได้เปลี่ยนไปมีความหมายว่า คนเต้นประกอบเพลงในปัจจุบัน

ตำบลบางเสร่ในอดีตนั้นเป็นที่กล่าวขานถึงความโด่งดังของ ” หมู่บ้านหางเครื่อง ” ซึ่งเป็นหางเครื่องพื้นบ้าน ซึ่งนักเต้นหรือหางเครื่องภายในวงส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่เป็นลูกหลานของชาวบ้านตำบลบางเสร่ จุดเด่นของหางเครื่องบางเสร่อยู่ที่ท่วงท่าการเต้นที่สวยงามและพร้อมเพรียงเป็นเอกลักษณ์

ในช่วงแรก เครื่องก็มีทั้งหญิงและชาย ไม่ได้เป็นกลุ่มคณะ บางครั้งก็เป็นตัวตลกประจำวง บางครั้งก็เป็นนักร้องประจำวง ไม่มีรูปแบบที่ตายตัว ต่อมาได้มีการพัฒนาขึ้นโดยมีผู้หญิงสวย ๆ ออกมาเขย่าหางเครื่อง แต่ก็ยังไม่ออกลีลาการเต้น เพียงเดินให้เข้ากับจังหวะเพลงเท่านั้น เพลงส่วนใหญ่ที่ใช้หางเครื่องจะมีจังหวะบีกิน ช่าช่าช่า โบเลหลังจากนั้นได้ใส่ลีลาการเต้นและการแต่งกายมากขึ้น โดยพัฒนามาจากการเต้นระบำฝรั่งเศสของฟอลลี่ แบร์แช (Folies Bergeres) และการเต้นโมเดิร์นด๊านซ์ (Modern Dance)

จนในปี พ.ศ. 2509 หางเครื่องแต่งตัวเหมือนกันเป็นทีม อย่างเช่นวงของสุรพล สมบัติเจริญ สมานมิตร เกิดกำแพงและหลังจากที่สุรพล เสียชีวิตลง ศรีนวล สมบัติเจริญ ภรรยาสุรพลได้จัดหากเครื่องใช้ผู้เต้นประมาณ 10 คน ลีลาการเต้นก็เป็นแบบระบำฮาวายของตะวันตก จนปี 2510 หางเครื่องเริ่มเปลี่ยนแปลงชัดเจนกลายเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ขาดไม่ได้ของวงดนตรีลูกทุ่ง