หมึกยักษ์ ศิลปินจอมเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ

ตำนานของเจ้าแห่งการพรางตัว นักวิทยาศาสตร์ได้เดินทางมาที่เกาะสุลาเวสี อินโดนีเซีย เพื่อค้นหาหมึกยักษ์ “มิมิก” (Mimic) หมึกยักษ์ ปราดเปรียว คล่องแคล่ว แข็งแกร่ง และในบางกรณีก็มีพิษร้าย แต่ร่างกายของมันกลับเป็นเพียงโปรตีนอันอ่อนนุ่มและเปราะบางที่ปลาส่วนใหญ่ชอบกิน สัตว์เหล่านี้ใช้เวลาหลายล้านปีในการพัฒนาทักษะแห่งวิวัฒนาการที่น่าทึ่ง ซึ่งกำลังจะถูกเปิดเผยต่อไป

ด้วยสมองขนาดใหญ่ และระบบประสาทที่ซับซ้อน หมึกยักษ์สามารถเอาชนะนักล่าด้วยไหวพริบในการใช้ภาพลวงตาหมึกยักษ์บางชนิดสามารถเปลี่ยนสีและผิวหนังได้เกือบสามครั้งต่อนาทีขณะนี้นักวิทยาศาสตร์กำลังศึกษาหาวิธีป้องกันตัวอีกแบบหนึ่งของหมึกยักษ์ที่เราไม่ค่อยพบเท่าไรนัก นั่นคือความสามารถในการเลียนแบบหรือที่เรียกว่า “มิมิก” ( mimic) และด้วยเหตุที่มันยังไม่เคยถูกศึกษาหรือตั้งชื่อโดยนักวิทยาศาสตร์นี้เอง

“มิมิก”มีชีวิตประจำวันที่ต่างจากหมึกยักษ์ทั่วไปอยู่มาก พวกมันจะออกจากโพรงในตอนเช้า และจะตื่นตัวมากในตอนกลางวันที่แดดจัดในขณะที่หมึกยักษ์ชนิดอื่นๆจะทำเป็นเช่นนี้ในเวลากลางคืน และแทนที่จะพรางตัวให้ดูเหมือนทรายในที่โล่ง “มิมิก”จะสร้างรูปแบบตัวเองให้มีท่าท่างสีสัน และความจ้าให้ดูเหมือนวัตถุบางอย่างที่ไม่มีชีวิตและไม่น่ากิน แต่มิมิกก็ไม่สามารถอยู่นิ่งได้ เพราะมันจะต้องเคลื่อนตัวผ่านทรายและสำรวจรูหรือโพรงเพื่อหาอาหาร ในเวลาหากินนั้น หนวดแต่ละเส้นซึ่งจะมีปุ่มที่ทำหน้าที่เหมือนต่อมรับรสของมนุษย์ ก็จะม้วนไปรอบๆ และเมื่อกุ้งหรืออะไรบางอย่างโผล่ขึ้นมาจากทรายก็จะชนเข้ากับพังผืดระหว่างหนวดแล้วเจ้า “มิมิก” ก็จะได้กินอาหารอย่างอร่อยแต่ก็มีหลายครั้งที่ปลาลิ้นควายจะมาขโมยอาหารไปเพราะในขณะที่หมึกเคลื่อนตัว มันจะมีหนวดยื่นยาวออกมาที่ก้นทะเลซึ่งอาจทำให้กุ้งหนีไปและจะถือเป็นโอกาสทองของปลาลิ้นควายที่ว่ายไปรอบๆเพื่อมองหาเหยื่อง่ายๆแบบนี้อยู่

  

“มิมิก”มักจะไม่ค่อยสนใจถ้าหากปลาลิ้นควายยังคงรักษาระยะห่างไว้แม้ว่าจะดูเหมือนถูกแย่งอาหารก็ตามแต่เมื่อใดก็ตามที่พวกมันเข้ามาใกล้มากเกินไป หมึกยักษ์ก็จะเปลี่ยนเป็นสีเข้มเพื่อให้ปลากลัวแต่ถ้ายังไม่ได้ผลมันก็จะใช้หนวดเหมือนแซ่เพื่อไล่พวกมันออกไป

สิ่งที่น่าทึ่งนักวิทยาศาสตร์พบในพฤติกรรมการหาอาหารของ “มิมิก” ก็คือพวกมันจะเลียนแบบบ่อยครั้ง แม้ว่าจะไม่มีสัตว์อื่นเลยก็ตาม ครั้งหนึ่งนักวิทยาศาสตร์พบว่าพวกมันเลียนแบบปลาลิ้นควายในเวลาออกหากินด้วย ไม่ใช่เวลาหากินอย่างช้าๆ แต่เป็นตอนที่พวกมันเริ่มว่ายน้ำ และเพิ่มความเร็วขึ้น ไม่ใช่เพียงแค่การพรางตัว แต่คือการเปลี่ยนรูปลักษณ์ รวมทั้งพฤติกรรมให้เหมือนกับปลาอีกด้วย นอกจากนี้พฤติกรรมในการเผชิญหน้าระหว่าง “มิมิก”กับสัตว์อื่นก็ก็น่าตื่นตาตื่นใจเช่นกัน ครั้งหนึ่งเมื่อมันพบกับกั้งตั๊กแตนซึ่งจะเข้ามาทำร้ายมัน “มิมิก”ก็จะเปลี่ยนเป็นสีดำเข้มคล้ายกับงูเห่าที่ผงาดขึ้นเพื่อพร้อมที่จะโจมตีซึ่งการเปลี่ยนสีสันที่รวดเร็วนี้เป็นกลยุทธ์ป้องกันตัวที่หมึกยักษ์ส่วนใหญ่ใช้ข่มขู่สัตว์อื่นอย่างไรก็ตามยังมีคำถามอีกมากมายที่ยังหาคำตอบ หรือหาหลักฐานการยืนยันไม่ได้อย่างเช่น เหตุใดหมึกยักษ์ที่อ่อนแออย่าง “มิมิก” จึงใช่เวลาส่วนใหญ่ในพื้นที่โล่งโดยไม่พรางตัว หรือพฤติกรรมการเลียนแบบสิ่งอื่นที่ทำให้มันดูเตะตามากกว่าที่จะเป็นการพรางตัว บางทีการศึกษาที่มากขึ้น เราอาจจะต้นพบเรื่องราวที่ซ่อนเร้นอยู่ในหนวดมากกกว่าที่คิดก็ได้

(370)

ใส่ความเห็น