Coypu สัตว์ฟันแทะที่กลายเป็นปัญหาของสัตว์ท้องถิ่นเพราะมนุษย์

นากหญ้า มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้ จัดเป็นสัตว์ฟันแทะที่มีขนาดใหญ่ เมื่อโตเต็มที่มีความยาวได้ 37-70 เซนติเมตร หางยาว 24-45 เซนติเมตร น้ำหนักตั้งแต่ 3.5-10 กิโลกรัม  บางตัวอาจหนักได้ถึง 17 กิโลกรัม ด้วยมีลักษณะรูปร่างคล้ายนาก จึงได้ชื่อสามัญว่า “Nutria” ซึ่งแปลว่า นาก ในภาษาสเปนซึ่งเป็นที่มาของชื่อภาษาไทย

มีหัวกลม ปากสั้น คอสั้น ใบหูกลมและเล็ก หนวดเป็นเส้นหนา เท้าหลังมีนิ้วทั้งหมด 4 นิ้ว พังผืดยึดระหว่างนิ้วเพื่อช่วยในการว่ายน้ำ ยกเว้นนิ้วสุดท้าย เท้าหน้ามี 5 นิ้ว มีหางยาว ขนชั้นนอกยาวและหยาบส่วนขนชั้นในอ่อนนุ่ม ขนมีน้ำมันบาง ๆ เคลือบอยู่เป็นมันช่วยให้ไม่อุ้มน้ำขณะว่ายน้ำ ซึ่งมีคุณสมบัติเหมือนขนนาก สีขนเปลี่ยนได้ตามฤดูกาลตั้งแต่สีน้ำตาลอ่อนจนถึงดำแกมแดง บางตัวอาจมีแต้มสีขาวบริเวณปาก อาศัยอยู่รวมเป็นฝูงในพื้นที่ชุ่มน้ำ โดยขุดโพรงริมตลิ่งหรือสร้างรังบนกอพืชน้ำอยู่ กินอาหารจำพวกหญ้า พืชน้ำ หอยทั้งหอยฝาเดียวและหอยฝาคู่ ว่ายน้ำและดำน้ำเก่ง โดยสามารถดำน้ำได้นานถึง 7 นาที

 

<------------->

<------------->

 

นากหญ้าถือเป็นสัตว์ที่ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ดี และด้วยขนคล้ายนากทำให้มันถูกเพาะเลี้ยงเพื่อเอาขนไปทำเสื้อสัตว์แทนนาก เป็นสัตว์เศรษฐกิจที่มีการส่งออกจากทวีปอเมริกาใต้ไปยังหลายภูมิภาคของโลก ซึ่งในหลายพื้นที่พวกมันได้กลายเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเมื่อแรกซื้อเป็นสัตว์เศรษฐกิจพันธุ์ใหม่ ต่อมาผลตอบรับไม่ดีนัก ทำให้มีคนนำไปปล่อยสู่แหล่งธรรมชาติ พวกมันจึงกลายเป็นสัตว์ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่เข้ามาเบียดเบียนสัตว์ประจำถิ่นเดิม

(995)